ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทหินเมืองต่ำนั้นอยู่ไม่ไกลจากปราสาทหินพนมรุ้งนัก ปราสาทหินพนมรุ่งจะอยู่ที่เขาพนมรุ่ง หากขับรถลงไปก็จะเจอปราสาทเมืองต่ำ ปราสาททั้งสองอยู่ในกลุ่มปราสาทเดียวกับที่เขมร และอยู่ในแนวเดินทางเพื่อไปปราสาทหินพิมายด้วย เรื่อง

แนวเดินทางของปราสาทสมัยก่อนมักจะมีการเชื่อมโยงกันครับ อย่างปราสาทวัดพูก็เชื่อมโยงไปยังนครวัดได้ ปราสาทในไทยก็เชื่อมโยงไปยังปราสาทในกัมพูชาได้

ข้างๆปราสาทมีบารายหรือบ่อน้ำที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ยังเป็นร่องรอยของหินที่เรียงรอบสระน้ำนี้ เที่ยวปราสาทคงไม่มีความหมายอะไร เหมือนกะมาชมหินชมดินหากไม่รู้ที่มาที่ไปของปราสาทนั้น ผมจึงขอเล่าประวัติของปราสาทเมืองต่ำ ซึ่งเป็นข้อมูลจาก wiki มาฝากกันด้วยครับ Mr.Hotdsia ตุลาคม 2554

ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคำว่า เมืองต่ำ นี้ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าปราสาทพนมรุ้ง โดยมวลสารวัตถุจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในที่นี้ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา

ปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะปาปวนตอนต้น และลดความสำคัญลงไปในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกทิ้งร้างในที่สุด จนเมื่อราวปี พ.ศ. 2490 จึงเริ่มมีการอพยพเข้ามาของชาวบ้าน มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง

ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลัก

ส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ โดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้

ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย

ปราสาทประกอบ

ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร