เที่ยววัดแสนทองอมก๋อย

หากมาเที่ยวอมก๋อยสิ่งที่ที่ควรไปสักการบูชาคือพระเจ้าแสงทอง ที่วัดแสงทอง ผมเองเมื่อไปถึงอมก๋อย ไม่รู้อะไรดลใจให้จอดรถตรงสะพานไม้ และไปถ่ายรูปจนไปพบกับวัดนี้โดยไม่รู้ข้อมูลมาก่อนว่าเป็นวัดประจำอำเภออมก๋อย ที่วัดนี้มีหลวงพ่อแสนท่องหรือพระเจ้าแสนท่องที่คนอมก๋อยนับถือกันอย่างมากครับ

ผมถ่ายรูปสะพานไม้ก่อนเดินไปไหว้พระเจ้าแสนทองซึ่งเป็นทองอร่ามเหลืองสวยงามมาก ทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ประวัติของพระเจ้าแสนทองไม่ธรรมดาเลย ผมไปได้ข้อมูลมาจากเว็บของอำเภออมก๋อย เลยเอามาลงไว้ให้ด้านล่างนี้ครับ มาดูประวัติของพระเจ้าแสนทองกัน พระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ไม่ปรากฎว่ามีการสร้างขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอมก๋อยหลายท่าน อาทิ พ่อหนานคำปัน อดีตเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนทอง พ่อหนานศรีรัตน์ เล่าว่า เดิมพระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปที่มาจากทางภาคกลาง แถบเมืองละโว้ ลพบุรี

พระนางจามเทวีผู้ครองนครลำพูนเป็นผู้นำขึ้นมาทางเหนือ ในสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก คนโบราณใช้วิธีการขนส่งสิ่งของโดยการใช้เรือ ซึ่งเป็นการคมนาคมทางน้ำที่สะดวกมาที่สุด และไม่มีเครื่องยนต์จะใช้กำลังคนเป็นผู้ค้ำถ่อเรือ ครั้งหนึ่งพระนางจามเทวีได้รับเชิญจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้มาครองหัวเมืองลำพูน ก่อนที่พระนางจะสเร็จมาถึงเมืองลำพูนนั้นได้มีเหล่าฤาษี 5 ตน ซึ่งต่างพากันดีใจ และได้ร่วมกันสร้างพระรอดมหาวันลำพูนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองพระบารมีของพระนางจามเทวี ฤาษ๊ 5 ตน ต่างพากันรวมใจตั้งจิตอธิษฐานและร่วมใจสร้างพระรอดขึ้นมาทั้ง 5 แบบพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล้ก พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ตื้น แล้วนำไปถวายให้กับพระนางจามเทวี

เมื่อพระนางจามเทวีได้รับพระรอดมหาวันลำพูนแล้ว ได้แจกจ่ายให้กับไพร่พลทหราร ครั้งหนึ่งได้เกิดสงครามกับพวกพม่า ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองลำพูน พวกทหารของพระนางจามเทวีต่างก็มีพระรอดมหาวันเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี สามารถต่อสู้กับพวกพม่าได้จนมีชัยชนะจนถึงขั้นเป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันและแทงไม่เข้า พระรอดมหาวันมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมเล่นเครื่องรางของขลังให้ราคาพระรอดรุ่นฤาษี 5 ตนในราคาที่สูงมากก่อนที่พระนางจามเทวีจะเสด็จมาครองเมืองลำพูน

ตามคำบอกเล่าว่า พระนางเสด็จขึ้นมาทางเรือตามแม่น้ำปิงและได้นำพระเจ้าแสนทองมาด้วย พอขึ้นมาถึงดอยเกิ้ง อยู่ในเขตอำเภอฮอดก็ได้นำเอาพระเจ้าแสนทองไปประดิศฐานไว้ที่วัดดอยเกิ้ง จากนั้นเกิดมีสงครามกับพม่า พระนางได้สั่งให้นำเอาพระเจ้าแสนทองไปหลบซ่อนไว้ในป่าใกล้ ๆ กับวัดดอยเกิ้ง ปัจจุบันสถานที่นำพระเจ้าแสนทองไปหลบซ่อนนั้น เรียกชื่อว่า “ห้วยแสนทอง” ต่อมาประมาณ 700 ปีที่ผ่าน คนอมก๋อยสมัยนั้นเป็นชนเผ่าลัวะ (ละว้า) ได้มาสร้างถิ่นฐานและได้ไปนำเอาพระเจ้าแสนทองมาไว้ที่อมก๋อย

ประดิษฐานไว้ที่วัดแสนทอง เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ซึ่งเห็นได้จากหลักฐานที่ว่าหมู่บ้านแห่งใดที่ชนเผ่าลัวะอสศัยอยู่ทุกแห่งจะมีการสร้างวัดไว้ เช่น บนดอยม่อนจอง ดอยมูเซอ จะมีซากปรัก ก้อนอิฐ และวัดเก่า ๆ อยู่หลายแห่ง บางแห่งจะมีลักษรเป็นวงกลม ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพิธิ เช่น พิธีคารวะศพของผู้นำหมู่บ้าน หรือผู้ที่เป็นที่เคารพของหมู่บ้านจะมีพิธีการเดินรอบเรียกว่า “การเดินประทักษิณา” สถานที่นี้มักอยู่บนยอดเขาสูง จะฝังศพตรงนั้นแล้วขุดโดยรอบ ๆ เป็นวงกว้างขนาด 1-2 งานต่อ 1 หลุม พวกชาวลัวจะยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีอย่างเคร่งครัด พอถึงงานประเพณีสงกรานต์ ชาวลัวะจะพากันขึ้นไปทำการคารวะศพผู้นำหรือผู้มีพระคุณกับหมู่บ้าน โดยการเดินเวียนประทักษิณขอบหลุมศพ สวดมนต์ท่องพร่ำรำพันตามประเพณ๊ของเขา

จากนั้นต่อมาประมาณ 450 ปี พวกชาวลัวะได้อพยพถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นจนหมดทิ้งไว้เพียงร่องรอยของวัดร้าง ซากปรักหักพังไว้ให้คนรุ่นหลังได้พบเห็น จากนั้นผู้คนชาวไทยพื้นราบ (คนเมือง) จากบ้านมีดกา อำเภอดอยเต่า ได้อพยพเข้ามาอยู่แทนที่ในแถบที่ราบริมฝั่งน้ำแม่ตื่นในครั้งก่อนนั้น พระยาอินต๊ะมีตำแหน่งเป็นพ่อขุนเมืองอมก๋อย ปัจจุบันนี้เรียกว่า พ่อกำนัน พ่อกำนันอินต๊ะ

เป็นผู้มีความกว้างขวางมีอิทธิพลและได้รับการยอมรับว่าเป็นคหบดีของชาวอมก๋อย ท่านมีช้างเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะและใช้งาน ครั้งหนึ่งพ่อกำนันอินต๊ะต้องการอยากจะย้ายพระเจ้าแสนทองไป เนื่องจากพ่อกำนันเกรงว่าทีวัดแสนทองนั้นจะไม่มีพระภิกษุอาศัยอยู่ดูแลรักษา ในระหว่างที่ขนย้ายพระเจ้าแสนทองไปนั้น ระหว่างทางจะต้องข้ามน้ำแม่ตื่น ควานช้างจะบังคับช้างเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล

ช้างก็ได้แต่วนเวียนไปมาจนไม่สามารถนำพระเจ้าแสนทองไปบ้านหลวงได้ พระยาอินต๊ะจึงได้สั่งใหนำพระเจ้าแสนทองกลับมาไว้ที่เดิม คือ ที่วัดแสนทอง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าแสนทองอาจมองกาลไกลว่าอนาคตพื้นที่หมู่บ้านและวัดแสนทองแห่งนี้จะมีความเจริญรุ่งเรือง มีความก้าวหน้าเจริญจนเป็นวัดประจำอำเภอในปัจจุบันเมื่อประมาณระยะเวลาไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมา

ครั้งหนึ่งที่วัดแสนทางในตอนกลางคืนได้มีโจรผู้ร้ายเข้ามาขโมยพระเกศโมรีของพระเจ้าแสนทอง ซึ่งพระเกศโมรีนั้นสามารถถอดออกได้ เมื่อโจรผู้ร้ายได้ถอดเอาพระเกศโมรีได้แล้วก็ไม่สามารถออกจากพระวิหารได้ เพราะหลงทางหาทางออกไม่ได้จนต้องนำพระเกศไปเก็บไว้ที่เดิม จึงสามารถออกจากพระวิหารได้ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์จนเป็นที่ยอมรับของศรัทธาสาธุชนชาวอำเภออมก๋อย ดังนั้นพระเจ้าแสนทองจึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภออมก๋อยตลอดมา เป็นพระพุทธรูปที่ให้ความคุ้มครอง เป็นที่พึ่งของประชาชน ดังคำขวัญของอำเภออมก๋อยที่ว่า

“ดินแดนในหุบเขา ใต้ร่มเงาพระแสนทอง ดอยม่อนจองสูงสง่า สัตว์ป่าล้วนมากมี ประเพณีหลายเผ่าพันธุ์”