แท่นขุดเจาะน้ำมันที่ฝาง

ใครที่เคยผ่านไปทางฝางจะเห็นเครื่องขุดเจอะน้ำมันตั้งอยู่ข้างทางเป็นแบบจำลอง หากใครที่ไม่เคยเห็นของจริงลองแวะเข้าไปเที่ยวสักนิด จะได้ความรู้ติดตัวกลับบ้านเรื่องการขุดเจาะน้ำมันครับ เมื่อผมเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันที่แม่สูนจึงตามไปเที่ยวข้างในทันที เข้าไปไม่ไกลนักมีเครื่องขุดเจาะน้ำมันทำงานอยู่สองเครื่อง

เครื่องแบบนี้จะเจาะลงไปประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วน้ำมันดิบที่ได้มาใส่ถังก่อนแล้วจึงมีรถบรรทุกมารับไปอีกทีหนึ่ง เครื่องทำงานมีเสียงดังพอตัว เครื่องขุดจะทำงานตลอดเวลา ผมไปดูตรงที่ได้น้ำมันดิบออกมา ถึงรู้ว่าน้ำมันดิบจริงๆหน้าตาเป็นแบบนี้นี่เองเดินไปจากตัวแรกเข้าไปอีกนิดจะมีโซนที่คนงานขึดเจาะเขาอยู่ ตรงนี้มีอีก 1 แท่น และมีเครื่องกำลังขุดหาอยู่ด้วยครับ ที่รู้เพราะว่ามีป้ายบอกไว้ แท่นขุดเจาะน้ำมันที่ฝางนี้มีอายุความเป็นมาร้อยปี 

ประวัติความเป็นมา

ประมาณร้อยปีเศษที่ผ่านมา ชาวบ้านท้องที่อำเภอ ฝางเขตท้องที่ตำบลแม่สูน พบน้ำมันลักษณะสีดำไหลซึมขึ้นมา บนผิวดิน บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาทาร่างกายเพื่อ รักษาโรคต่างๆ ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่จึงสั่งให้ขุดบ่อ เพื่อกันน้ำมันไว้เรียกกว่า “บ่อหลวง” หรือ “บ่อเจ้าหลวง” ต่อ มาหน่วยราชการหลายฝ่ายสนใจทำการสำรวจและดำเนินงานต่อ กันมาหลายสมัย สรุปได้ดังนี้

พ.ศ. 2465 กรมรถไฟ โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝางจึงจ้าง นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr Wallace Lee ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2464 – 2465 พบเพียงร่องรอยก๊าซ ธรรมชาติเจาะลึก 185 เมตร ท่อกรุขาดจึงระงับการเจาะพ.ศ. 2477 กรมเชื้อเพลิงทหารบกสำรวจปี พ ศ 2477 ด้วยการจ้างนักธรณีวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ 2 นาย คือ Dr Arnold Heim และ Dr Hans hirschi ทำการสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย 3 นาย ตรวจสอบธรณีวิทยาผิวดินและขุด บ่อตื้นๆ จึงเลิกล้มไป

พ.ศ. 2475 กรมหลวงเข้ามาดำเนินการ ม.ล กรี เดชาติวงศ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อกรมทางหลวงในการใช้แทนยางแอสฟัลต์ การสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคน เรียกว่า “เครื่องเจาะบังก้า” เจาะประมาณ 10-20 เมตร ผลการสำรวจได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ 38 ล้านลูก บาศก์เมตร และยังใช้เครื่องเจาะลึก 200 เมตร อีกหลายหลุมพบน้ำมันในระดับความลึกประมาณ 70 เมตร เรียก หลุมที่พบน้ำมันนี้ว่า “บ่อระเบิด” มีก๊าซธรรมชาติปนอยู่ด้วย สถานที่อยู่ทางบ่อต้นขามเป็นระยะทาง 500 เมตร กรมทางหลวงจึงได้สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขึ้น ผลิตน้ำมันได้ 40,000 ลิตร ด้วยขาดอุปกรณ์และความ ชำนาญประกอบกับมิใช่หน้าที่ของกรมทางหลวงงานทั้งหมดจึงยุติลง

พ .ศ.2492 กรมโลหะกิจเข้าดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2492 – 2499 โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า “หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง” ใช้เครื่องเจาะชนิด Rotary จากประเทศเยอรมันนี เจาะลึกประมาณ 230 เมตร บริเวณบ่อต้นขามต่อมาเรียก “แหล่งน้ำมันไชยปราการ” สร้างโรงกลั่นน้ำมันทดลองขนาดเล็กกลั่นน้ำมันเป็นครั้งคราว ใช้น้ำมันดิบประมาณ 1,000 ลิตร ดำเนินการกลั่นในระหว่าง พ.ศ. 2492 – 2499 การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาบ่อน้ำมันฝางในความควบคุมของกรมโลหะกิจ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ มีความเห็นว่าควรทำการเจาะสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางด้านการกลั่นก็มุ่งในการทำยางแอสฟัลต์

พ.ศ. 2499กรมการพลังงานทหารรับช่วงงานต่อมาในเดือนมีนาคม 2499 Dr Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลี่ยม ได้มาดูกิจการของหน่วยงานสำรวจน้ำมันฝางรายงานว่าน้ำมันดิบที่อำเภอฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกมาขายได้ เสนอให้สำรวจเพื่อ ตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1,000 บาเรล ถ้ามีปริมาณเพียงพอ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้โอนกิจการน้ำมันฝางขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน 2499 เป็นวันที่กรมพลังงานทหารตั้งกองสำรวจ และผลิตปิโตรเลี่ยมขึ้นเป็นครั้งแรก และได้ขยายพื้นที่ การสำรวจในลุ่มแอ่งภาคเหนืออีกหลายลุ่มแอ่ง คือ ลุ่มแอ่ง เชียงใหม่ ลุ่มแอ่งลำปาง ลุ่มแอ่งลำพูน ลุ่มแอ่งแพร่ ลุ่มแอ่งเชียงราย และลุ่มแอ่งพะเยา