รัฐสิกขิม(SIKKIM) คือรัฐหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน และทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเยล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร
ก่อนศตวรรษที่ 18 ประชากรส่วนใหญ่ในสิกขิมส่วนใหญ่เป็นชาวเลปชา ซึ่งอพยพมาจากทิเบตในศตวรรษที่ 8 ชาวเผ่ารุ่นแรกๆจะเป็นชนเผ่านัมกยาลสืบเชื้อสายจากชาวมินยักในทิเบต ในปี พ.ศ. 1811 (ค.ศ. 1268) เจ้าชายแห่งนัมกยาล นามว่า คเย บุมซา ได้เสด็จไปช่วยสร้างวัดนิกายศักยะขึ้นในทิเบต และทรงผูกมิตรกับชาวเลปชา นามว่าเตกงเท็ก เมื่อเตกงเท็กเสียชีวิต ชาวเลปชาจึงได้ยกคุรุตาชี โอรสองค์ที่ 4 ขึ้นเป็นช็อกยัล (กษัตริย์)ในปี พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) จนถึงในปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ภูฏานได้รุกรานสิกขิม ช็อกยัลจึงได้เสด็จลี้ภัยไป และได้สร้างวัดขึ้นที่เปมารยังเซ และตาชีดิง ทรงคิดประดิษฐ์อักษรเลปชาขึ้น ก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) โดยตามคำบัญชาของเจ้าหญิงเปย์ วอมกโม ผู้ภักดีต่อภูฏาน
ในต้นศตวรรษที่ 19 บริษัทอีสต์อินเดีย ได้เข้ามาบุกเบิกเทือกเขาหิมาลัยเพื่อเป็นทางผ่านเพื่อทำการค้ากับทิเบต ในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) อังกฤษทำสงครามกับเนปาล สิกขิมได้ช่วยอังกฤษ เพื่อเป็นการตอบแทน อังกฤษจึงยกเขตเตรายของเนปาลเป็นการตอบแทนในปี พ.ศ. 2359 (ค.ศ. 1816) ต่อมาพระเจ้าซุกฟุด นัมกยัลก็ทรงมอบเขาดาร์จีลิงให้อังกฤษทำรีสอร์ตเพื่อแสดงไมตรี แต่ไม่นานความสัมพันธ์เริ่มเกิดปัญหาเมื่ออังกฤษยึดเขตเตรายคืน และตั้งตนเป็นผู้อารักขาอาณาจักรแห่งนี้ นับจากศตวรรษที่ 18 นี้ ได้มีชาวเนปาลจำนวนมากอพยพเข้าอาณาจักรนี้จนเป็นประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 75
หลังได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้ทำข้อตกลงกับช็อกยัลว่า สิกขิมจะรวมกับอินเดียในระดับหนึ่งเท่านั้น ครั้นปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รัฐสภาสิกขิมได้ออกเสียงให้สิกขิมรวมอยู่กับอินเดีย สถาบันกษัตริย์จึงถูกยกเลิก ปัจจุบันสิกขิมจึงมีสถานะเพียงรัฐๆหนึ่งของอินเดีย
ในปัจจุบันประชากรในรัฐสิกขิมนับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ถึง 60.9 % รองมาคือ พุทธศาสนา 28.1 % ศาสนาคริสต์ 6.7 % และศาสนาอิสลาม 1.4 % การแบ่งเขตการปกครอง สิกขิมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต ได้แก่ สิกขิมเหนือ, สิกขิมใต้ เมืองที่ผมไปคือน้ำชี(Namchi), สิกขิมตะวันออก เมืองหลวงคือแกงต๊ก(Gangtok) , สิกขิมตะวันตก เมืองหลวงคือเมือง Pelling(เปริ่ง)
การเดินทางเข้าไปเที่ยวยังสิกขิมต้องทำใบผ่านเรียกว่า Inner Line Permit (ILP) หากมาเที่ยวยังดาร์จีลิงสามารถทำได้ที่สถานีตำรวจสำหรับนักท่องเที่ยวที่ดาร์จีริง (Foreigners Registration Office) จากนั้นเดินไปให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของสิกขิมที่เจ้าหน้าจะแนะนำไป บัตร ILP สามารถอยู่ในสิกขิมได้ 14 วัน นักท่องเที่ยวมาจากดาร์จีริงต้องไปที่เมืองแกงตก(Gangtok) ก่อนเพื่อที่จะต่อรถไปเที่ยวยังเมืองอื่นๆ ของสิกขิมต่อไป
ที่พักในสิกขิมผมไม่ได้จองล่วงหน้าไปเลยสักแห่งเดียว โดยรวมแล้วราคาที่พักถูกกว่าในโกลกาต้า หน้าฝนราคาลดลงมากกว่าครึ่ง หน้าหนาวตรงกับไทยราคาที่พักแพงขึ้นเป็นเท้าตัวควรจองไปก่อนเดินทาง ที่แกงตกผมพักที่โรงแรม Hotel view point อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ GM mart ที่เป็นโซนนั่งเที่ยวเล่นซื้อขายของประจำเมืองของแกงตก โรงแรมในแต่ละเมืองหากเป็นช่วงหน้าฝนนอกฤดูท่องเที่ยวไม่ต้องจองล่วงหน้าไปก่อน
อาหารการกินชาวสิกขิมมีคนเนปาลีอยู่ มีคนอินเดียรวมกันอยู่ อาหารเมืองนี้เป็นอาหารไม่เหมือนทางอินเดียใต้ที่เน้นโรตี เครื่องเทศ เมืองนี้ไปทางอาหารคนเมืองหนาว อาหารต้องร้อนๆ สำหรับการมาเที่ยวยังสิกขิม ผมประทับใจที่สุดคือโฮมสเตย์ของชาวเนปาลี หมู่บ้านชาวบ้านแท้ๆ ที่น้ำชี(Namchi homestay) mr.hotsia เที่ยวสะใจ