ชาวปะหล่อง บ้านนอแล ดอยอ่างขาง

เมื่อผมเดินทางมาเที่ยวดอยอ่างขางได้เห็นจากข้อมูลว่ามีชาวเผ่าปะหล่องที่บ้านนอแล เขตชายแดนไทยพม่า จึงไปเที่ยวทันที ในวันที่ผมไปนั้นเป็นวันออกพรรษพอดีเลย ชาวปะหล่องเขาจะมีพิธีการของเขา เนื่องจากชาวปะหล่องนับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดและมีพิธีการในวันนี้ เป็นโชคดีของผมจริงๆครับผมเดินตามเสียงดนตรีไปที่วัดนอแลวันนี้ผู้หญิงปะหล่องทั้งหมู่บ้านสวนเสื้อผ้าสีแดงสดในเครื่องแบบเต็มยศของชาวปะหล่อง ในวัดมีพระนั่งอยู่ และมีหญิงชาวปะหล่องขับร้องบทกวีอะไรสักอย่างที่ผมฟังไม่ออกเนื่องจากชาวปะหล่องเขาจะมีภาษาของเขาเองครับ

ในศาลาวัดยังมีคนนั่งอยู่หลายคน ส่วนข้างนอกมีดนตรีของชาวประหล่องประกอบด้วยฆ้อง กลอง และฉาบ และมีการแสดงรำในแบบของเขา ซึ่งผมดูแล้วคล้ายๆพม่าครับในตอนสุดท้ายเขาจะมีพิธีการจุดโคมยี่เป็ง มีดนตรีและมีการร้องเพลงปะหล่องโบราณไปด้วย ช่วงนี้ชาวปะหล่องจะยกมือไหว้และร้องเพลงบรรยากาศขลังมากผมมองแล้วยังขนลุกเลยครับ ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อน ผมดูพิธีการของเขาอยู่จนจบพิธีตอนค่ำแล้วเดินกลับลงจากวัดพร้อมกับเขา ตลอดทางเขาจะร้องเพลงและตีฆ้อง กลอง ฉาบ ตลอดทาง เขายังชวนให้ผมอยู่ดูพิธีในวันถัดไปและชวนให้พักในหมู่บ้าน แต่ผมไม่ได้ตอบรับเพราะต้องไปถ่ายที่บรรยากาศดอยแม่สลองยามค่ำคืนต่อครับ

สำหรับชาวปะหล่องที่บ้านนอแลนี้ผมอ่านข้อมูลที่ฐานนอแล ชาวปะหล่องได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านนอแลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ยังมีข้อมูลชาวปะหล่องเพิ่มเต้มจาก วัฒนธรรมภาคเหนือ (http://www.baanmaha.com/community/thread32873.html) ดังนี้

ปะหล่อง อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 หมู่บ้านคือ บ้านนอแล บ้านห้วยหมากเหลี่ยม บ้านสวนชา อำเภอฝาง และบ้านปางแดง อำเภอ เชียงดาวชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก “คุณลอย” หมายถึง คนดอย ส่วนชาว พม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า และยูนนานในประเทศจีน ชาว ปะหล่องในประเทศไทยอพยพมาจากพม่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า “ดาระอั้ง” (Da-ang, ra-rang, ta-ang) เอกสาร ประวัติศาสตร์หลายฉบับกล่าวว่า ชาวปะหล่องเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งใต้้การปกครองของนครรัฐแสนหวีการแต่งกายของหญิงชาวปะหล่องถือเป็นเอกลักษณ์ของเผ่า กล่าวคือ การสวมห่วงหวายลงรักแกะลาย หรือใช้เส้นหวายเล็กๆ

ย้อมสีถักเป็น ลาย บางคนก็ใช้โลหะ สีเงินลักษณะ เหมือนแผ่นสังกะสีนำมาตัดเป็นแถบยาวตอกลาย และขดเป็นวงสวมใส่ปนกัน ชาวปะหล่องจะเรียกห่วง ที่สวมเอวนี้ว่า “หน่องว่อง”หญิงชาวปะหล่องจะสวม “หน่องว่อง” ตลอดเวลา ด้วยความเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นลูกหลานนางฟ้า โดยมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่ามีนางฟ้าชื่อ “หรอยเงิน” ได้ลงมายังโลกมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดเร้ว ของพวก มูเซอ ทำให้กลับสวรรค์ไม่ได้ ต้องอยู่ในโลกมนุษย์และเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์หลายกลุ่มชาวปะหล่องเชื่อกันว่า

พวกตนเป็นลูกหลานของนางหรอยเงิน ดังนั้นจึงต้องสวม “หน่องว่อง” ซึ่งเปรียบเสมือนเร้วดักสัตว์ไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงนางฟ้าหรอยเงินตลอดเวลา ชาวปะหล่องเชื่อกันว่า การสวม “หน่องว่อง”จะทำให้เกิดความสุขเมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ หากถอดออกจะทำให้สิ่งไม่เป็นมงคลเข้าครอบงำ หญิงชาวปะหล่องมักจะสวม ติดตัวตลอดเวลาแม้แต่ในเวลานอนก็ตาม

หญิงชายชาวปะหล่องมักจะแสดงฐานะของตนด้วยการเลี่ยมฟันด้วยโลหะคล้ายทองทั้งปาก และ ประดับด้วยพลอยหลากสี การแต่งงานของชาวปะหล่องหนุ่มสาวชาวปะหล่องไม่นิยมแต่งงานกับคนต่างเผ่าการพบปะกันจะเกิดในงานพิธี ทำบุญต่างๆเมื่อชายหนุ่มถูกใจสาวคนใดก็จะหาโอกาสไปเที่ยวบ้านในตอนกลางคืนโดยจะเป่าปี่ หรือดีดซึงเป็นเพลงบอกกล่าวให้สาวมาเปิด ประตูรับหากสาวไม่่รังเกียจก็จะมาเปิดประตูรับ แล้วพากันไปคุยหน้าเตาไฟ เมื่อตกลงแต่งงานกันได้ก็จะบอกให้พ่อแม่ฝ่ายชายเป็นฝ่ายไปสู่ขอ พิธีแต่งงานจะมีการเลี้ยงผีเรือนผีปู่ย่าตายาย ในวันมัดมือหลังจากนั้นคู่บ่าวสาวจะพากันไปทำบุญที่วัดหลังแต่งงานแล้ว ผู้หญิงจะต้อง ย้ายไปอยู่กับบ้านฝ่ายชาย

ชาวปะหล่องมีความเชื่อเรื่องวิญญาณควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนา โดยเชื่อว่า วิญญาณมีอยู่ 2 ระดับคือ ระดับหนึ่งเรียกว่า “กาบู” เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิต และ “กานำ” เป็นวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา และเชื่อว่าแต่ละคนจะมีีวิญญาณ 2 ระดับ นี้ให้ความคุ้มครองอยู่ ในหมู่บ้านปะหล่อง จะมี ศาล เจ้าที่ “ดะมูเมิ้ง” เป็น ที่สิงสถิตของวิญญาณที่คุ้มครองหมู่บ้าน บริเวณศาล เจ้าที่จะอยู่เหนือ หมู่บ้าน มีรั้วล้อมรอบ จะมีพิธีทำบุญบูชาเจ้าที่ ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อน เข้าพรรษาและช่วงก่อนออก พรรษา พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษา เรียกว่า “เฮี้ยงกะน่ำ” เพื่อเป็นการบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้าน จะไม่มี การ ล่วงประเวณีกัน หรือมีการแต่งงานกัน จากนั้นจึงทำพิธีปิดประตูศาลผีหรือ”กะปิ๊สะเมิง” เมื่อใกล้จะออกพรรษาก็จะทำพิธีเปิดประตููศาลผีเจ้าที่หรือ “วะสะเมิง” เพื่อเป็นบอกกล่าวว่าช่วงฤดูแห่งการ แต่งงานใกล้จะ มาถึงแล้ว ชาวบ้านทุกครัวเรือนจะมาร่วมในพิธี โดยการนำไก่ต้มสับมาเป็นชิ้นๆ เอาไปรวมกันที่ศาลผีเจ้าที่ จากนั้นจะมีผู้ประกอบพิธีกรรมเรียกว่า “ด่าย่าน” เป็นผู้ทำการบอกกล่าว แก่ผีเจ้าที่ต่อไป

อาชีพของชาวปะหล่องคือ เกษตรกรรม แบบทำไร่เลื่อนลอย พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ถั่ว ข้าวโพด ยาสูบ พริก อ้อย มัน สัตว์เลี้ยงได้แก่ แพะ แกะ เป็ด ไก่ ม้า เป็นต้น ส่วนอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น ม้า เสือ หมีและปลานอกจากนี้ยังมีข้อมูลของชาวปะหล่องจากวิกิพีเดีย คือ ปะหล่อง (ภาษาจีน:德昂族; พินอิน : Déáng Zú) เป็นชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่ง นับเป็นหนึ่งใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีชาวปะหล่องอาศัยอยู่ในประเทศพม่า และมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาประเทศไทยบริเวณชายแดน

ใกล้ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชาวปะหล่องพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร เรียกว่า ภาษาปะหล่องในปี ค.ศ. 1949 ชาวปะหล่องในประเทศจีน มีชื่อเรียกว่า Benglong ครั้นปี ค.ศ. 1985 มีชื่อเรียกใหม่ว่า เต๋อะ อ๋าง ตามคำเรียกร้องของสมาชิกในกลุ่มชาติพันธุ์นี้บ้านเรือนส่วนใหญ่ของชาวปะหล่องทำจากไม้ไผ่ แต่โครงเป็นไม้จริง ประตูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่ละครอบครัวมีบ้านของตนเอง มักเป็นบ้านสองชั้น (แต่บ้านชั้นเดียวก็มี) ชั้นล่างเป็นที่เก็บข้าวเปลือกและเลี้ยงสัตว์ ส่วนชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย

ผู้หญิงชาวปะหล่องแต่งกายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ปกติจะมีเสื้อกั๊กสีดำ หรือขาวทับด้านนอก ตกแต่งด้วยแถบกำมะหยี่หลากสี และนิยมนุ่งผ้าถุง ชายชาวปะหล่องสวมเสื้อกั๊กสีขาวหรือกรมท่า กางเกงขายาว ขาบานๆ นอกจากนี้ยังโพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือดำ ในบางท้องถิ่น ชาวปะหล่องยังนิยมสักบนร่างกายเป็นรูปเสือ นก หรือดอกไม้ชาวปะหล่องส่วนใหญ่ยึดมั่นในศาสนา และมีการสร้างวัดในเมืองส่วนใหญ่ของพวกเขา นอกจากทำบุญตามประเพณีของชาวพุทธแล้ว ชาวปะหล่องยังนิยมส่งลูกหลานที่มีอายุประมาณ 10 ขวบไปบวชสามเณร และสึกออกมาเพื่อถึงวัยผู้ใหญ่