เมืองบุญเหนือ

เมืองบุญเหนือ เมืองบุญเหนือ ระหว่างทางจากอุดมไชยไปพงสาลี จะผ่านเมืองใหญ่สำคัญก่อนถึงพงสาลี 1 ชั่วโมง เมืองนี้ชื่อเมืองบุญเหนือ (Boun Neua) เป็นแยกที่ขึ้นหากตรงขึ้นไปเป็นชายแดนจีน เลี้ยวขวาเป็นเมืองพงสาลี บุญเหนือเป็นชื่อเมืองของแขวงพงสาลี มีสนามบินด้วย มีเกรสเฮ้าส์ เอทีเอ็ม เมืองใหญ่ลองจากพงสาลี แต่ไม่ใช่เมืองในหุบเขา ผมเดินทางจากอุดมไชยผ่านเมืองบุญเหนือช่วงเย็น ลงไปเดินเล่นตรงสถานีขนส่งบุญเหนือไม่นาน รถประจำทางผ่านเมืองนี้รถหยุดส่งคนและขนของลงจากรถประมาณ 10-15 นาที เดินแถวๆสถานีได้ นักท่องเที่ยวหลายคนมาเที่ยวเมืองบุญเหนือ พักเกรสเฮ้าส์ และต่อไปยังหมู่บ้านห่างไกลทางเหนือ mr.hotsia เที่ยวสะใจ มีนาคม 2556

Read More



งานบุญสงกรานต์เมืองขวา

งานบุญสงกรานต์เมืองขวา ทีแรกว่าจะไม่แยกเรื่องนี้ออกมา แต่ดูรูปที่ถ่ายออกมาแล้วสวยทุกรูป เลยต้องแยกมาให้ชมกันจะจะครับ เป็นภาพของคืนวันที่ 18 เมษายน 2554 ซึ่งยังอยู่ในช่วงบุญสงกรานต์ กลางคืนชาวบ้านจะไปรดน้ำพระ ซึ่งการรดน้ำพระจะทำทุกงานบุญไม่ใช่สงกรานต์เท่านั้น เมืองขวาชาวบ้านยังมีวิธีชีวิตที่สงบ และส่วนใหญ่จะไปทำบุญกันที่วัด สำหรับการสรงน้ำพระเขาจะไม่ได้รดไปที่องค์พระโดยตรง เขาจะนำน้ำที่เตรียมมาจากบ้านที่ใส่พรานมานั้น เทลงไปบนรางแล้วรางจะทอดยาวลงไปสรงน้ำพระอีกครั้ง ผมเห็นหลายที่ในเมืองลาวเป็นแบบนี้ทั้งหมดครับ บรรยากาศแบบนี้หาดูได้ยากแล้ว ผมรีบนำลงเว็บไว้ก่อน ในวันข้างหน้าลูกหลานจะได้มีให้ชมสืบต่อไปครับ Mr.Hotsia เมษายน 2554

Read More



เที่ยวเมืองขวา

เมืองขวา เมืองขวาคือเมืองหนึ่งของพงสาลี ครั้งที่แล้วผมล่องเรือแม่น้ำอูจากหาดสาพงสาลี ผ่านเมืองขวา ครั้งที่แล้วผมยังเรียกชื่อว่าเมืองขัว แต่จริงๆดูจากแผนที่แล้วชื่อว่า “เมืองขวา” เมืองขวาเป็นเมืองที่มีคนอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาบริเวณรอบๆเมือง ที่เมืองขวาเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพราะว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเที่ยวเวียดนามเหนือ ผ่านจากเมืองขวาไปเดียนเบียนฟูแล้วต่อไปยังซาปาต่อไป เมืองขวากำลังจะมีสะพานข้ามแม่น้ำอู ข้อมูลผมวันนี้เมษายน 2554 สะพานกำลังสร้างอยู่เห็นเพื่อนที่เมืองขวาบอกอีกสองปีจะเสร็จ เมื่อสะพานเสร็จผมว่าจะมีรถประจำทางจากอุดมไชยไปเดียนเบียนฟูเลยแบบไปเช้าถึงบ่ายๆหรือเย็น ไม่ต้องใช้เวลาหนึ่งคืนที่เมืองขวาอีก เห้อ… แบบนี้คนก็ไม่พักที่เมืองขวาหนึ่งคืนสิ แล้วคนที่ทำเรื่องท่องเที่ยวเมืองขวาจะอยู่อย่างไร ไม่แน่อาจต้องพักก็ได้ถ้าไม่มีรถวิ่งตรงจากอุดมไชยไปเดียนเบียนฟู สำหรับวันนี้การเดินทางมาเมืองขวาโดยรถประจำทางจากเมืองไชยหรืออุดมไชยมายังเมืองขวา รถออกวันละหนึ่งเที่ยวตอน 8.00 น. ตอนบ่ายอาจมีเสริม หรือจะล่องเรือแม่น้ำอูมาจากหาดสาพงสาลีก็ได้ หรือจะล่องเรือจากหนองเขียวย้อนมาเมืองขวาก็ได้ ฝรั่งบางคนเที่ยวมาจากเวียดนามเหนือ ซาปา มาเดียนเบียนฟู แล้วมายังเมืองขวา ก่อนไปเที่ยวหลวงพระบางต่อไป ที่พักที่เมืองขวามีประมาณสิบแห่งราคาตั้งแต่ 160 บาทขึ้นไปไม่เกิน 500 บาท ที่คนลาวและนักท่องเที่ยวไปพักเยอะหน่อยคือ “เรือนพักแคมอู” อยู่ติดริมน้ำอูมีร้านอาหารด้วย ราคาก็ 200 กว่าบาท ส่วนผมไม่ได้พักที่นั้น ผมพักกับเรือนพักของ “นางแสง” ที่อยู่ตรงข้ามธนาคารแห่งชาติลาว เพราะหลายปีก่อนเคยเดินทางตะลุยเดี่ยวไปเดียนเบียนฟูเลยรู้จักกัน ครั้งที่แล้วรู้จักเพื่อนชาวลาวอีกคน ยังจำได้ที่เขาพาไปกินข้าวบ้านชาวบ้านแถวนี้ ครั้งนี้ผมจึงพักที่นี่และก็ทำอาหารกินเอง แล้วยังสอนทำผัดกระเพรา + ต้มยำไทยโบราณให้อีกตะหาก ที่เมืองขวาสมัยก่อนไฟปิดตอน 4 ทุ่มตอนนี้มีไฟตลอดแล้ว เมืองขวามีธนาคาร…

Read More



เดินทางจากเมืองขวาประเทศลาวไปเดียนเบียนฟู

เดินทางจากเมืองขวาประเทศลาวไปเดียนเบียนฟู เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้ในการเดินทางจากไทยไปซาปาเวียดนามได้ โดยมาทางเชียงของ ห้วยทราย อุดมไชย เมืองขวา แล้วก็ต่อรถจากเมืองขวาไปเดียนเบียนฟูเวียดนามเหนือ แล้วต่อรถจากเดียนเบียนฟูไปซาปา แต่ละเมืองผมเขียนเรื่องการเดินทางให้แล้ว รถจากเมืองขวาจะออกตอน 06.00 น. ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะไปรอตั้งแต่ตีห้า จะมีเรือข้ามฟากเสียคนละ 20 บาท เมื่อข้ามไปแล้วก็เริ่มเอาของขึ้นหลังคา ต้องซื้อตั๋วก่อนคนละ 100,000 กีบหรือ 400 บาท(น่าจะจำไม่ผิด) รถที่ใช้เป็นรถบัสแบบคันเล็กของเวียดนาม เป็นคนเวียดนามดูแล รถสามารถนั่งตามที่นั่งได้ 24 ที่นั่ง แต่คนจะขึ้นไปบนนั้นได้ถึง 40-50 คน เพราะรถมีเที่ยวเดียวต่อวัน ดังนั้นต้องอัดกันไปเท่านั้น รถจะไปถึงเดียนเบียนฟูประมาณบ่ายโมงครึ่งกว่าๆ ระหว่างทางจอดกินข้าวที่เมืองใหม่เป็นร้านชาวเวียดนามมีเฝอร้อนๆขาย หลังจากนั้นก็วิ่งยาวไปจนถึงด่านของฝั่งลาวที่ชื่อว่า “ด่านสบรุน” แล้วไปอีกสามกิโลเมตรจะถึงด่านเวียดนามมีชื่อว่า “ด่านเตยจาง” ที่ด่านเตยจางมีอาหารขาย คิดเป็นรายหัวคนละ 160 บาท ซึ่งแพงครับ ผมเห็นพี่น้องชาวลาวนำข้าวเหนียวและอาหารเตรียมไปกินด้วย ซึ่งผมว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจครับ เมื่อไปถึงเดียนเบียนฟูรถจะจอดที่ขนส่งเดียนเบียนฟู แค่เดินข้ามฝากมาก็มีโรงแรมให้เลือกแล้ว เพราะหากจะไปซาปาต้องรอรถพรุ่งนี้ 06.00 น. แต่ผมแนะนำว่าพักที่เดียนเบียนฟู 1-2 วันก็ดี เที่ยวดูเมือง และพูดคุยกับพี่น้องชาวไทยดำครับ Mr.Hotsia เมษายน 2554

Read More



ล่องแก่งน้ำอู พงสาลี-เมืองขัว

ในขณะที่แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำหลักฝั่งตะวันตกของประเทศลาว ไหลผ่านปากแบง ปากอู ไปที่หลวงพระบาง กลายเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเดินทางสายหลักของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกในการเดินทางสู่หลวงพระบาง และในฝั่งตะวันออกก็มีแม้น้ำ ซึ่งต้นกำเนิดอยู่เหนือสุดของประเทศลาวที่แขวงพงสาลี เส้นทางน้ำฝั่งตะวันออกเป็นเส้นทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารไปมาหาสู่กันในอดีต ระหว่างเมืองพงสาลี เมืองขัว หลวงพระบาง เส้นทางทางน้ำทางฝั่งน้ำอู เป็นเส้นทางที่นับวันจะมีความสำคัญน้อยลง เพราะคนลาวไม่ชักไม่ค่อยนิยมนั่งเรือเหมือนสมัยก่อน แต่หันมานั่งรถยนต์แทน เพราะว่าราคาถูกกว่ากันมาก ดังนั้นก่อนที่จะไม่มีใครได้มีโอกาสได้ล่องเรือเส้นทางนี้อีก Hotsia.com เองขอเป็นนักท่องเที่ยวชุดเกือบสุดท้าย ที่จะถ่ายทอดบรรยากาศริมน้ำอูให้รู้กันไปทั่วโลกครับ เรือที่ใช้ในน้ำอูมีสองแบบ แบบแรกคือเรือยนต์ที่ผมใช้ล่องจากหาดสามาเมืองขัว แบบนี้จะใช้เครื่องคูโบต้าของญี่ปุ่น คนขับบังคับด้านหน้าด้วยพวงมาลัย เรืออีกแบบที่ผมเห็นเป็นเรือชาวบ้านใช้พายไปหาปลากลางแม่น้ำอู เป็นเรือขุดจากต้นไม้ทั้งต้น เรือขุดแบบนี้หาแทบไม่ได้แล้วในประเทศไทยสมัยนี้ เพราะว่าทำยากจะหาต้นไม้ใหญ่ๆมาขุดเป็นเรือไม่คุ้มเอาไม้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่ที่ลาวผมเห็นเรือก็เป็นเรือขุดทั้งนั้น ป่าไม้ของเมืองลาวนี่มากจริงๆ ล่องเรือดูวิถีคนริมอูแล้วนึกถึงเมืองไทยในอดีต 20-30 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่ผมเป็นเด็กใช้ชีวิตที่บางบ่อ พายเรือไปโรงเรียน อาบน้ำคลอง ถึงกระนั้นผมเกิดมาก็ยังไม่ได้เห็นเรือขุดแบบนี้อยู่ดีครับ แม่น้ำอูช่วงต้นน้ำแบบนี้ สองฝั่งเป็นโขดหินเพราะสองฝั่งจะเป็นภูเขาหินสูงๆตลอด บางครั้งก็จะผ่านหาดทรายบ้าง ช่วงที่เป็นทรายก็จะมีชาวบ้านไปตั้งหมู่บ้านอยู่กัน ช่วงที่เป็นหินบางช่วงกว้างบางช่วงแคบมาก เมื่อแคบน้ำอูก็จะแรงเรือที่ผ่านไปก็ต้องใช้ความเร็วเพิ่มเพื่อบังคับไม่ให้ชนหิน เรือจะขับเฉียดๆหินในหลายๆจุด นอกจากการลุ้นในเรื่องของการขับเฉียดหินแล้ว น้ำอูยังมีหลายจุดที่น้ำต่างๆระดับ ก็คือแก่งใหญ่ๆของน้ำอูนั่นเองครับ แก่งเหล่านี้ยิ่งสนุกเพราะเรือจะยวบตัวลงตามระดับของสายน้ำอูที่ถูกทิ้งในแก่ง น้ำจะกระจายเปียกผู้คนในเรือบ้างบางครั้ง นี่คือความสนุกสนานและคือเสน่ห์ของการล่องน้ำอูครับ เห็นผมบรรยายถึงเรื่องแก่งน้ำอูแล้วไม่ต้องตกใจ เพราะเจ้าของเรือที่ขับเรือนั้น ผมว่าเขาเป็นมืออาชีพจริงๆ คนขับเรือจะมีประสบการณ์อย่างดีรู้ว่าจุดไหน ผ่านได้ จุดไหนหินใต้น้ำสูง เขาดูที่ผิวน้ำก็จะรู้ว่าตรงไหนผ่านสะดวก ตลอด 6…

Read More



หาดสา เตรียมล่องน้ำอู่ไปหลวงพระบาง

หาดสา ต้นทางการล่องแก่งน้ำอูด้วยเรือ เช้านี้ผมตื่นแต่เช้าเพราะต้องเดินไปขึ้นรถที่ท่ารถไปหาดสา ซึ่งผมต้องเดินไปด้านข้างๆ ของภูฟ้า เช้าวันสุดท้ายที่ตื่นขึ้นมาที่พงสาลี กลับเป็นวันที่อากาศดีมาก หมอกลงจางๆ ไปทั่วพงสาลีดูสวยงามมาก ผมจ่ายค่าห้องเรียบร้อย แล้วเดินเล่นถ่ายรูปไปด้วย ถามทางชาวบ้านไปด้วย คิวรถหาดสาอยู่ทางเดียวกับทางไปสวนของชาวบ้าน ผมจึงมีเพื่อนเดินไปท่ารถด้วยกันหลายคน หาดสาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ติดแม่น้ำอู แม่น้ำอูนี้ไหลจากตอนเหนือสุดของประเทศลาว ทางตอนใต้ของจีน ไหลผ่านหาดสา และผ่านไปยังเมืองขัว เมืองงอย หนองเขียว และไหลไปลงแม่น้ำโขงที่บริเวณถ้ำปากอูที่หลวงพระบาง หาดสาเป็นหมู่บ้านสำคัญในอดีตเพราะการเดินทางในสมัยก่อนต้องอาศัยทางน้ำเป็นหลัก ลองนึกภาพดูจากเวียงจันทน์จะไปหลวงพระบาง และขึ้นต่อไปถึงพงสาลีกอาศัยทางน้ำเป็นหลัก เหมือนเมื่อสมัยก่อนของไทย จากกรุงเทพจะมาเชียงใหม่ก็ต้องมาทางเรือ นี่คือการเดินทางเมื่อร้อยปีก่อนของไทยก่อนที่จะมีรถยนต์และมีเขื่อน หาดสาอยู่ห่างจากเมืองพงสาลี 20 กิโลเมตร ค่ารถไปหาดสาคนละ 10 พันกีบ หรือ 40 บาท รถไปหาดสามีวันละ 1 เที่ยวช่วงเช้า หากจะล่องเรือจากพงสาลีไปยังตอนใต้ต้องมาแต่เช้า เรือจะดูจำนวนคนว่าครบ 7 คนไหม หากคนครบก็หารค่าเรือออกมาได้คนละ 400 บาท หากไม่ครบราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก หากคนไม่พอจริงๆ ก็ต้องนอนพักที่หาดสาซึ่งมีที่พักชื่อ ชื่อวันนาเกรสเฮ้า (Wanna Guesthouse) ราคาคืนละ 100 บาท เพื่อรอคนให้ครบหรือจนไหวที่จะจ่ายในราคาที่หารเฉลี่ยออกมา ราคา…

Read More



กินอาหารเย็นกับพ่อเฒ่าภูฟ้า

หลังจากกลับจากกินเบียร์กลับถึงห้องว่าจะนอนพักเสียหน่อยกลับไม่ได้พักซะนี่ เพราะว่าลองเอาโน้ตบุ๊กมาลองเปิดดันไปเจอสัญญาณ WIFI ของที่ไหนก็ไม่รู้เลย update คลิปวีดีโอขึ้น youtube และก็ Check email ตรวจสอบคนเข้าเว็บ คนก็เข้าน้อยเหมือนเดิม นอนก็นอนไม่หลับอุตส่าห์เที่ยวไกลเขียนข้อมูลขึ้นเว็บขนาดนี้เมื่อไหร่จะดังเสียทีเนี่ย วัยรุ่นเริ่มใจร้อนชักเซ็งๆ เลยโปรโมทเว็บไม่ได้นอนพักเลยครับ พอถึงเวลานัดหมายก็เดินไปบ้านพ่อเฒ่าภูฟ้าตอนหกโมงเย็น บ้านพ่อเฒ่าภูฟ้าอยู่ในโซนบ้านเก่าอยู่ทางไปขึ้นพระธาตุภูฟ้า ผมเดินไปถึงก็ได้เวลาที่แม่เฒ่ากำลังทำอาหารพอดี เมื่อเช้านี้ผมได้ซื้อหมูมาครึ่งกิโล กะว่าจะมารวนเค็มให้พ่อเฒ่าแม่เฒ่ากิน แต่ทำไปทำมาแม่เฒ่าเอาไปหมักและทอดให้เรียบร้อย เลยไม่ต้องโชว์ฝีมือได้แต่กินอย่างเดียวครับ พ่อเฒ่าและแม่เฒ่าแกเป็นคนจีนฮ่อ พูดลาวพอได้ผมก็สื่อสารกันเป็นภาษาลาว บ้านนี้อยู่กันแค่สองคนลูกโตๆออกเรือนกันไปหมดแล้ว เหลือแต่คนแก่สองคน การได้มากินข้าวบ้านชาวพงสาลีแท้ๆแบบนี้ ทำให้ผมได้มีโอกาสคุยเรื่องเก่าๆของเมืองพงสาลี ทำให้รู้ความเป็นมาของที่นี่มากขึ้น เมืองพงสาลีเป็นเมืองพัฒนาที่หลังสุดของประเทศลาว เนื่องจากอยู่ไกลที่สุด มายากที่สุด คนที่อาศัยที่นี่ก็เป็นชาวเขาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ที่นี่อยู่ในความมืดยาวนานกว่าเมืองอื่นๆ พงสาลีพึ่งมามีไฟฟ้าใช้เมื่อสิบกว่าปีมานี่เอง ก่อนหน้านี้สิบกว่าปี พ่อเฒ่าและแม่เฒ่ายังประกอบอาชีพเอาของใช้ต่างที่หลังม้า จูงไปขายในป่าเขาที่ไกลออกไปนอกเขตตัวเมืองพงสาลี ทุกวันนี้ม้าไม่มีให้เห็นที่ตัวเมืองพงสาลีแล้ว ม้าหายไปพร้อมๆกับการที่มีรถยนต์มาแทนที่ มีแสงสว่างจากไฟฟ้าเข้าถึง “พงสาลี” ก็คือพงของต้นไม้ ป่าของต้นไม้ที่ชื่อว่าต้นสาลี แต่ก่อนมีมากนี่คือที่มาของชื่อเมืองพงสาลี อาหารเย็นของผมเริ่มต้นด้วยการกินเหล้าขาวของพงสาลีก่อนสักแก้วสองแก้วพอเป็นกระษัย จากนั้นแม่เฒ่าก็ตักข้าวแจกและก็กินข้าวด้วยตะเกียบตามแบบฉบับของชาวจีน อาหารมื้อนี้ที่อร่อยสุดคือหมูทอดจิ้มซอสแมกกี้ แมกกี้ฝั่งไทยจริงๆ มาขายไกลถึงเมืองพงสาลีและยังคงความอร่อยเช่นเดิม อาหารแปลกๆอีกอย่างคือรากไม้อะไรสักอย่าง (ดูในรูปที่อยู่ในจานตั้งหน้าแม่เฒ่า) เจ้ารากไม้นี้กินออกรสชาติเหมือนข่า ไม่อร่อยเลยสักนิดเดียวผมเจอไปก้านเดียวต้องรีบวาง ส่วนอาหารอื่นๆคือไข่ต้ม ซุบแตงและก็ไข่เจียว ทุกอย่างกินได้เรื่อยๆตามแบบฉบับคนกินง่ายอย่างผมอยู่แล้ว การที่มาเที่ยวไกลถึงพงสาลี และได้มากกินข้าวบ้านชาวบ้านพงสาลีแท้ๆ…

Read More



พระธาตุภูฟ้า พงสาลี

สถานที่ท่องเที่ยวในพงสาลีส่วนใหญ่ หากจะเที่ยวก็ต้องติดต่อผ่านบริษัททัวร์ในเมืองพงสาลี ซื้อแพกเกตท่องเที่ยว 1 วันบ้าง 2 วันบ้าง นั่งรถไปเที่ยวตามหมู่บ้านชาวเขาไกลๆ เช่นหมู่บ้านฮ่อตีนน้อย หรือเดินป่าที่ฝรั่งชื่นชอบกัน สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองพงสาลีนั้นเดินไม่นานก็ครบหมดเพราะพงสาลีเป็นเมืองเล็กๆ เที่ยวตลาดเดินชมบ้านเรือนใช้เวลา 1 ชั่วโมงก็จบ แต่พงสาลียังมีภูเขาประจำเมืองชื่อว่า “ภูฟ้า” สูงจากระดับน้ำทะเล 1626 เมตร เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมวิวเมืองพงสาลีกันนานมาแล้ว และเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองรัฐบาลลาวได้สร้างพระธาตุขึ้นบนภูแห่งนี้ เรียกชื่อพระธาตุแห่งนี้ว่า “พระธาตุภูฟ้า” ทำให้ภูฟ้ากลายเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนอกจากไปชมวิวแล้วยังไปไหว้และชมพระธาตุด้านบนดังมากขึ้นไปอีก ภูฟ้าดั้งเดิมมีบรรไดทางขึ้น 888 ขั้น แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงละ 400 ขั้น เมื่อเดินไปครึ่งทางจะมีจุดพักเป็นลานกว้าง มีโต๊ะและที่ปิ๊กนิค สามารถชื่ออาหารและเครื่องดื่มจากด้านบนนี้กินได้ จุดพักครี่งตรงนี้ สามารถขับรถวนรอบภูเขาขึ้นมาได้ แต่ตั้งแต่จุดนี้ไปหากจะขึ้นพระธาตุจะต้องเดินขึ้นไปเอง 400 ขึ้นบันไดครับ อย่างที่บอกว่าจุดพักผ่อนหย่อนใจของพงสาลีไม่ค่อยมี ภูฟ้าบริเวณจุดพักนี้จึงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของบรรดาหนุ่มๆสาวๆ ที่จะนั่งรีแลค กินลม กินเบียร์ลาวกันที่นี่ ในจุดพักตรงนี้ไม่ได้เห็นวิวพงสาลีสวยๆ แต่ออกแนวเย็นเงียบสงบมากกว่า บริเวณนี้มีโต๊ะนั่งปิ๊กนิค 10 โต๊ะได้ ในวันที่ฝนไม่ต้องจะมีคนมาเที่ยวกันหลายคน ต่อจากจุดพักตรงนี้จะมีเจ้าหน้าที่เก็บค่าทำเนียมการขึ้น 4 พันกีบ หรือ 16 บาท ก็ถือว่าคุ้มครับ ดั้งด้นมาไกลขนาดนี้แล้วเสียอีก 16…

Read More



เฝ๋อเป็ดห้วยทราย

เฝ๋อเป็ดห้วยทราย เฝ๋อเป็ดห้วยทราย ตอนนี้ท่าเรือข้ามฝากจากเชียงของไปห้วยทรายของฝั่งลาวย้ายตากตรง่าเรือเก่าที่อยู่ในเมืองแถวๆ ด้านหน้าวัดจอมเขา ย้ายไปอยู่ตรงท่าเรือช้าไปหลวงพระบาท อยู่ห่างจากในเมืองจากร้านเฝอมิกไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร เป็นด่านตรวจคนเข้าและออกเมืองด้วย ทำให้ร้านแถวนั้นคึกคักมาทันตา มีอยู่ร้านหนึ่งขายเฝอเป็ด อะไรที่ทำจากเป็ดผมว่าอร่อยอยู่แล้ว ดังนั้นผมจึงชิมดู ร้านชาวบ้านอยู่ใต้ถุนนะ ทางลงไปท่าเรือทางขวามมือ เฝอเป็ดน้ำใส ทำใหม่ผักสด เจ้าของกันเอง แต่ต้องบอกเขาหน่อยสะไม่ใส่แป้งนัว หรือผงชูรส ไม่แน่เขาอาจมีให้ปรุงที่โต๊ะเลยก็ได้ครับ เรือไปหลวงพระบางออก 11.00 น. ดังนั้นกินมื้อเช้าควบเที่ยวสัก 10.00 น. ผมว่าคุ้มสุด ไม่ต้องยุ่งหาของกินบนเรือ แล้วไปกินเย็นที่ปากแบงเลย Mr.Hotsia เที่ยวสะใจ

Read More



ลอยกระทงกันวันออกพรรษา บ่อแก้ว

ที่ประเทศลาวเขาลอยกระทงกันวันออกพรรษากัน เขาไม่มีวันลอยกระทงแยกมาอีกวันเหมือนไทยเรา นอกจากลาว ผมยังเคยไปเห็นลอยกระทงวันออกพรรษาที่ประเทศพม่า เมืองทวาย แขวงตะนาวศรี ของพม่าลอยกระทงลงแม่น้ำไม่มีไหลเรือไฟ ส่วนของลาวไหลเรือไฟและลอยกระทงในวันเดียวกัน ส่วนลอยกระทงของเวียดนามผมเจอที่ฮอยอันในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนที่เขมรผมยังไม่เคยไปวันลอยกระทง แต่ก็เคยเห็นที่รูปสลักหินที่นครวัดที่มีการลอยกระทงด้วย ทริปนี้ Mr.Hotsia พามาชมการลอยกระทงของคนลาวที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ความเป็นมาของการไหลเรือไฟและลอยกระทงของลาว ผมได้ยินพี่เจ้าของร้านที่ผมไปนั่งกินตอนไปเที่ยวเล่าให้ฟังว่ามาตั้งแต่สมัยเป็นเมือง “สุวรรณโคมคำ” เมืองโบราณที่อยู่ตรงข้ามเชียงแสน ที่เจ้าเมืองเรือไฟหรือกระทงสักอย่างแล้วไหลย้อนแม่น้ำโขง ด้วยสัจจะวาจาของเจ้าเมืองประมาณนั้น และกลายมาเป็นชื่อเมืองสุวรรณโคมคำในที่สุด เขายังบอกอีกว่างานประเพณีการไหลเรือไฟและลอยกระทงมีมาหลายชั่วคนแล้ว งานไหลเรือไฟและลอยกระทงเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ที่ผมไปเที่ยวจะจัดขึ้นในวันหลังวันออกพรรษา 1 วัน โดยจะการแข่งเรือ หรือคนลาวเรียง “ส่วงเรือ” แล้วตอนเย็นและกลางคืนจะเป็นงานไหลเรือไฟและงานลอยกระทงในวันเดียวกันเลย สำหรับปีที่ผมไปตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม 2557 ครับ ขั้นตอนการไหลเรือไฟ เขาจะแบ่งออกตามชุมชนตามหมู่บ้าน ให้แต่บ้านทำเรือไฟของตัวเอง เป็นแบบชาวบ้านๆ เน้นความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน “การลอยกระทงนั้นง่ายหาซื้อที่ไหนมาลอยก็ได้ ส่วนการทำเรือไฟต้องอาศัยความสามัคคีในชุมชน” นี่คือพี่น้องชาวลาวเล่าให้ผมฟังครับ การแห่เรือไฟจะเริ่มประมาณสามทุ่ม ชาวบ้านจะแบกเรือไปหน้าส่วนกลาง มีการเต้นร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน มีเดียวซอที่ผมชอบ ชาวบ้านร่วมมือกัน เขาไม่ใช้รถแห่นะ ใช้คนช่วยกันแบกครับ ทริปนี้ที่ผมประทับใจคือการได้ใช้กล้องหน้าของแอลจี จี 3 ที่ผมสั่งการด้วยเสียงได้…

Read More