นางสังขาน สงกรานต์หลวงพระบาง

นางสังขาน สงกรานต์หลวงพระบาง เคยแต่ได้ยินชื่อนางสังขาน แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนักว่านางสังขานคืออะไร นางสังขานก็คือนางสงกรานต์ของเมืองหลวงพระบาง ที่จะมีการประกวดกันทุกปี ผู้ที่ได้รางวัลนี้จะเป็นผู้ถือหัวของท้าวกบิลพรหม แห่แหนตามตำนานที่กล่าวกันมาในอดีต ตำแหน่งนางสังขานของหลวงพระบางเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ผู้ได้รางวัลนี้จะเป็นใบเบิกทางที่ดีสำหรับความก้าวหน้าในอนาคต อย่างเช่นนางสังขานปี 2005 ที่ชื่อว่าตูลี่ ตอนที่เป็นนักร้องที่โด่งดังของลาวในวันนี้ สำหรับในปี 2554 ผู้ที่ได้รับรางวัลคือคือหมายเลข 8 ชื่อว่านางสาวจิตรลดา สุขนิรันดร์ เป็นคนหลวงพระบางครับ และภาพที่เห็นคือนางสังขานปีนี้ ที่เป็นนางสงกรานต์ขี่ช้างมือถือปืนและขอบังคับช้าง แห่ไปตามถนนในเมืองหลวงพระบาง มีนักท่องเที่ยวทั้งลาวและต่างประเทศจำนวนมาก ชมขบวนแห่และเล่นสงกรานต์อย่างสนุกสนาน mr.hotsia เมษายน 2554

Read More



ตักบาตรขั้นได หลวงพระบาง

ตักบาตรขั้นไดหลวงพระบาง ผมได้คุยกับคนหลวงพระบางถึงกิจกรรม “ตักบาตรขั้นได” ในวันสงกรานต์แล้วสนใจมาก ผมจึงติดตามไปร่วมทำบุญที่ธาตุภูสีกับเขาด้วย ในวันนี้ชาวหลวงพระบางทั้งชาย หญิง เด็ก คนแก่ ต่างนำข้าวเหนียว ขนม แล้วพร้อมใจเดินขึ้นพระธาตุภูสี ในทุกระยะตรงบันไดเขาจะวางข้าวเหนียวและขนมไปเรื่อยๆ นี่คือการตักบาตรขั้นไดของชาวหลวงพระบาง ในวันนี้ชาวหลวงพระบางจะแต่งชุดหลวงพระบางมีสะใบ นุ่งซิ่น อย่างสวยงาม เริ่มตั้งแต่เช้าใครว่าตอนไหนก็ไปตอนนี้ ผมรู้สึกประทับใจมากๆกับภาพที่เห็น ดูช่างเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับผมจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อเดินไปถึงยอกภูสี เขาก็จะโยนข้าวเหนียวและขนมให้ขึ้นไปบนพระธาตุ เป็นการทำบุญทำทานที่ยิ่งใหญ่มาก ที่ยอดพระธาตุภูสีผมเห็นหลายคนไปเสี่ยงเซียมซี ดูแล้วนึกถึงตอนที่ผมไปกำแพงยักษ์ที่แขวงคำม่วน ผู้สาวลาวก็เสี่ยงเซียมซีที่วันแถวๆนั้น การเสียงเซียมซีทำให้เราได้ทบทวนตัวเองเวลาอ่านคำทำนายนั้นๆ เสียดายคนเยอะผมเลยไม่ได้เสี่ยงกะเขาด้วย mr.hotsia เมษายน 2554

Read More



สถานีขนส่งสายใต้ หลวงพระบาง

หลวงพระบางเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศลาว การเดินทางมาหลวงพระบางนั้นสะดวก มาได้ทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือและทางรถยนต์ ทางรถยนต์หากนั่งรถประจำทางจะมีสถานีขนส่งอยู่สองสถานี คือ สถานีขนส่งสายเหนือและสถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งสายเหนืออยู่ห่างจากกลางเมือง 4 กิโลเมตร สายเหนือนี้สำหรับเดินทางขึ้นเหนือไปเมืองไชย พงสาลี ส่วนสถานีขนส่งสายใต้อยู่ห่างจากเมือง 1 กิโลเมตร สถานีขนส่งสายใต้สำหรับเดินทางลงทางใต้ไปเวียงจันทน์ โพนสวรรค์ เชียงขวาง สำหรับผมจะไปทุ่งไหหินจึงเดินทางมาที่ขนส่งสายใต้ การเดินทางโดยรถยนต์ประจำทางต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ จำนวนผู้โดยสาย จอดมากจอดน้อย รถออกไม่ค่อยตรงเวลานักหากมีคนขนของขึ้นรถจำนวนมากรถก็จะออกช้าหน่อย ไม่ต้องตกใจเรื่องเวลาครับ ทางที่ดีควรตรวจสอบตารางเดินรถใหม่ทุกครั้งที่สถานีขนส่งเพราะอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอด รถจากหลวงพระบางไปเวียงจันทน์หากเป็นรถธรรมดาราคาประมาณ 300 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 11 ชั่วโมง รถจะมีวันละ 5-8 เที่ยว หากเป็นรถปรับอากาศราคาคนละ 340 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 11 ชั่วโมงเช่นกัน รถปรับอากาศจะมีวันละ 2 เที่ยว รถแอร์จะออกเวลา 6.30 น. และ 09.00 น. ในตอนเช้า ไปถึงเวียงจันทน์ช่วงเย็นๆ รถจากหลวงพระบางไปวังเวียงก็อยู่ที่สถานีขนส่งสายใต้หลวงพระบางด้วย รถธรรมดาไปวังเวียงคนละ 255 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 6-7 ชั่วโมง รถแอร์จากหลวงพระบางไปวังเวียงคนละ…

Read More



ตักบาตรท่าทราย วัดจอมเขามณีรัตน์

ช่วยเราเคารพประเพณีการตักบาตร ข้อความสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับประเพณีตักบาตรในตอนเช้า การตักบาตรเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาของหลวงพระบางและความงดงามนี้เป็นจุดหนึ่งที่สำคัญในด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีถ้านักท่องเที่ยวไม่รู้แจ้งในด้านวัฒนธรรม และขนมธรรมเนียมประเพณีการตักบาตรในรูปแบบที่ไม่สมควร ก็อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้ เราอยากจะให้ความสนใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติการตักบาตรที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวหลวงพระบางให้ความสำคัญดังนี้ หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับการตักบาตร 1. เฝ้าดูการตักบาตรในอาการที่สงบเสงี่ยมหากท่านต้องการทำทานกรุณาปฏิบัติในอาการสำรวม 2. โปรดซื้ออาหารในตลาดในตอนเช้าแทนที่จะซื้อจากร้านค้าตามบาทวิถีที่พระภิกษุสงฆ์เดินผ่าน 3. ถ้าท่านไม่ประสงค์ที่จะทำบุญ ขอความกรุณารักษาระยะห่างที่เหมาะสม และ แสดงอาการสำรวมอย่าเข้าไปกีดขวางในช่องทางที่พระภิกษุสงฆ์จะเดินผ่านหรือบริเวณที่ผู้คนจะเข้าไปทำบุญ 4. โปรดอย่าถ่ายรูปพระภิกษุสงฆ์ในระยะกระชั้นชิดจนเกินไป และ ไม่ควรใช้แฟลซเนื่องจากแสของแฟลซจากกล้องถ่ายรูปจะไปรบกวนแก่พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านอย่างมาก 5. กรุณาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่ควรใส่เสื้อคอลึก แขนกุด และกระโปรงหรือกางเกงสั้นเหนือเข่าเกินไป 6. ห้ามถูกเนื้อต้องตัวพระภิกษุสงฆ์ 7. ห้ามรถบัสขนาดใหญ่เข้าจอดในบริเวณเขตมรดกโลกของหลวงพระบางเนื่องจากมักก่อความรำคาญอย่างมาก อย่าขับรถบัสตามขบวนของพระภิกษุสงฆ์ เพราะท่านอาจอยู่สูงกว่าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวลาวถือว่า ไม่เคารพพระภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง การร่วมทำบุญตักบาตรด้วยอาการที่เคารพต่อสิงศักดิ์สิทธิ์และเชิดชูความงดงามของพุทธศาสนา ชุมชนและองค์การต่างๆ ของหลวงพระบาง ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับความร่วมมือนี้

Read More



วิ่งขึ้นภูสี(พูสี)ชมวิวหลวงพระบางยามเย็น

วิ่งขึ้นภูสี(พูสี)ชมวิวหลวงพระบางยามเย็น หลายๆจังหวัดในประเทศไทยเราสามารถขึ้นไปยังบนภูเขาเพื่อชมเมืองจากมุมสูงได้ เช่นการขึ้นดอยสุเทพไปชมเมืองเชียงใหม่ การขึ้นดอยกองมูไปชมเมืองแม่ฮ่องสอน ที่ลาวก็เช่นกันทั้งหลวงน้ำทาง เมืองอุดมไชย พงสาลี ก็มีภูเขาและมีพระธาตุบนภูเขาสามารถขึ้นไปชมตัวเมืองจากด้วนบนได้ เมืองหลวงพระบางก็เช่นกันมียอดภูสี ด้านบนมีพระธาตุจอมสีอยู่ด้านบน สามารถขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตกได้ วันนี้ผมจึงจะพาวิ่งขึ้นภูสีเพื่อไปชมบรรยากาศยามเย็นเมืองหลวงพระบางกันครับ หากท่านเคยไปเที่ยวดอยกองมู หรือดอยสุเทพและมาเที่ยวหลวงพระบางส่วนใหญ่จะนึกภาพว่าดอยภูสีนั้นจะต้องสูงมากใช้เวลาในการเดินขึ้นนาน หรืออาจคิดไปว่าขับรถขึ้นไปจะสะดวกกว่าไหม? อยากทำความเข้าใจกันก่อนว่าดอยภูสีนั้นเป็นเขาลูกเล็กๆ เดินขึ้นเดินลงเดี๋ยวเดียวก็ถึง การขึ้นภูสีเป็นเรื่องปรกติๆ จะขึ้นๆลงๆบ่อยๆก็ได้ เพราะอยู่ในเมืองขึ้นลงใช้เวลานิดเดียว ผมเองใช่เวลาในการวิ่งขึ้นดอยภูสีแค่ห้านาทีกว่าๆเท่านั้น ตลาดทั้ง 5 นาทีที่ขึ้นผมถ่ายคลิปวีดีโอมาฝากกันด้วย ดูได้จากด้านล่างเลยครับ บนยอดดอยภูสีด้วยระยะทางจากพื้นราบร้อยกว่าเมตรนั้น สามารถขึ้นได้หลายทางทางแรกขึ้นทางวัดพระหัก (wat pa huak) ทางนี้จะเป็นทางราบๆ ค่อยๆขึ้น ส่วนอีกทางหนึ่งจะเป็นทางชันมากกว่าคือฝั่งทางทิศเหนือที่ติดกับแม่น้ำคาน เส้นทางนี้คือเส้นทางที่ผมวิ่งขึ้น ทางขึ้นนี้ก็ผ่านวัดเช่นกันวัดนี้ชื่อว่าวัดพุทธบาท(wat Pha Phutthabaht) วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1938 (600 กว่าปีที่ผ่านมา ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้นของไทย) เมื่อขึ้นมาถึงวัดจะมีคนเก็บค่าทำเนียบนิดหน่อย ก่อนที่จะผ่านขึ้นไปยอดดอยภูสี (พูสี ลาวมีมีตัว ภ. เขาใช้ พ.พู เขียน เรามี ภ.น่าจะใช้ ภ.ภูเขาเขียน) บนยอดดอยภูสีจะมีพระธาตุชื่อว่า “พระธาตุจอมสี” อย่าสับสันนะครับ ผมสับสนมาแล้ว…

Read More



โจมาคอฟฟี่

ออกทริปตะลุยภาคเหนือของลาว ทริปนี้นับเดือน เดินทางไปตามแขวางต่างๆของลาว จนมาถึงหลวงพระบาง อาหารการกินก็ไม่สะดวกสบายเหมือนเมืองไทยบ้านเรา เรื่องกาแฟก็เช่นกัน อย่างมากก็กินกาแฟโบราณหรือก็คือกาแฟต้มกรองถุงกาแฟแบบต่างจังหวัดบ้านเรานั่นเอง ผมใช้ชีวิตพอเพียงใช้จ่ายอย่างประหยัดจะได้มีเงินพอที่จะเก็บข้อมูลท่องเที่ยวได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ หวนมานั่งคิดถึงรสชาดกาแฟคาปูชิโน่ปั่น ดอยช้างเฟรสเป้ หรือเอสเปรสโซ่แฟรบปูชิโน่ของสตาบัค ก็นึกไม่ออกเสียแล้ว และก็หลายมื้อหลายวันหลายโอกาส ที่กินกาแฟสำเร็จรูปเปล่าๆชงกับน้ำเย็นธรรมดา หรือช่วงที่มีเวลาน้อยมากสุดๆ ก็กินกาแฟผงเปล่าๆไปเสียเลย ผมกลับได้รสชาดที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ชีวิตคนมีความสุขก็ตรงมีความหวังหล่อเลี้ยงนี่เหละ ก็เหมือนกับกาแฟมันอยู่ที่บรรยากาศไม่ได้อยู่ที่รดชาดกาแฟอย่างเดียว กาแฟจะอร่อยอยู่ที่บรรยากาศดีๆ อย่างกาแฟโจมาร้านนี้ที่ผมกำลังจะแนะนำครับ หลวงพระบางวันนี้อากาศร้อนมากนักท่องเที่ยวแทบจะฝังตัวเองอยู่ในห้องพักเปิดแอร์เย็นๆ อ่านหนังสือไปพลางๆ ส่วนหนึ่งที่ถูกจำกัดด้วยเวลาต้องออกมาเดินท่องเที่ยวเมื่อร้อนมากๆ ก็หลบเข้ามากินกาแฟที่ร้านกาแฟโจมาแห่งนี้ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองเล็กๆ จะหาร้านกาแฟติดแอร์มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้เมื่อสองสามปีที่ผ่านมาหายากยิ่งนัก จองตั๋วเครื่องบินกลับไปกินที่กรุงเทพยังง่ายกว่า ในวันที่นักท่องเที่ยวมากขึ้น ความต้องการการมากขึ้น ร้านแบบนี้คงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนที่เวียงจันทน์ที่มีทรูคอฟฟี่ไปเปิดอยากให้มาเปิดที่หลวงพระบางบ้างจริงๆ ร้านกาแฟโจมาเป็นบ้านเก่าสองชั้นมีที่นั่งชั้นบนและชั้นล่างรวมกันน่าจะมากกว่า 20 โต๊ะ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ ป้ายราคาป้ายร้านก็เน้นไปที่ภาษาอังกฤษ ร้านนี้ตั้งอยู่ตรงหัวมุม หากเดินจากไปรษณีย์หลวงพระบางมาทางใต้อีก 20 เมตร จะอยู่ฝั่งเดียวกับไปรษณีย์ครับ ร้านกาแฟโจมามีจุดเด่นที่ร้านเป็นบ้านเก่าสวย นั่งแล้วเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกหลวงพระบางเลยทีเดียว ร้านโจมามีขนมเค้กและคุกกี้ที่ใหม่สดทุกวัน เพราะคนมากินกันไม่ขาดไม่มีเหลือ เท่าที่ผมดูที่นี่มืออาชีพมากๆ เหลือและหมดอายุเขาคงทิ้งแน่นอน เขาถึงหลุดพ้นจากวงจรเปิดแล้วเจ๊งมาได้ เรื่องบริหารจัดการร้านก็เช่นกัน พนักงานยิ้มแย้ม ไม่แปลกใจว่าทำไมร้านนี้ถึงเป็นอันดับหนึ่งในใจคนไทยหลายๆคน ส่วนหนึ่งผมว่าร้านกาแฟโจมาลงทุนทำร้านอย่างจริงๆจังมีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการชื่อว่า www.joma.biz ร้านนี้ทำการตลาดค่อนข้างมาก ผมเห็นป้ายโฆษณาร้านติดตามขนส่งด้วย ผมหลบร้อนนั่งที่นี่วางแผนการทำเว็บไซต์ www.hotsia.com ต่อไปว่าจะนำเสนออย่างไร…

Read More



แหนมเมือง หลวงพระบาง

แหนมเนืองเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่าต้นกำเนิดมาจากเวียดนาม แหนมเนืองที่อร่อยๆของประเทศไทยก็อยู่ที่จังหวัดอุดร เหนืออุดรไปหน่อยก็หนองคาย ออกเวียงจันทน์ได้สะดวกโยธิน ก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแหนมเนืองอร่อยๆถึงอยู่แถวนั้น ประเทศลาวก็เป็นเมืองขั้นระหว่างไทยกับเวียดนาม การเดินทางอันยาวนานของอาหารชนิดนี้ นานด้านเวลา ไกลเรื่องระยะทาง แหนมเนืองต้นฉบับของเวียดนามกว่าจะมาถึงไทยก็เปลี่ยนไปพอดูเลยทีเดียว วันนี้ผมมีโอกาสมาเที่ยวที่หลวงพระบางจึงต้องถือโอกาสนี้พิสูจน์ความเป็นมาของแหนมเนืองเสียหน่อยว่าเป็นอย่างไร ที่หลวงพระบางมีร้านอาหารหลายอย่างให้เลือกกิน แต่ร้านที่คนหลวงพระบางกินกันจริงๆ ไม่นับนักท่องเที่ยวนั้นไม่มากนัก ราคาของร้านที่ชาวบ้านกินก็จะถูกหน่อย ผมสืบทราบมาว่ามีร้านแหนมเนืองอร่อยอยู่ร้านหนึ่ง ตรงข้ามปั้มคาร์ลเทค เยื้องวัดวิชุน(ดูแผนที่ด้านล่างครับ) เป็นโอกาสดีที่ Hotsia.com จะได้พาชิมตามคอนเซ็ปของเราคือ จะพากินพาเที่ยวแบบอิสระ อาหารอร่อย ไม่หรู แต่ดีมีคุณภาพ ร้านวิชุนจึงเป็นร้านเป้าหมายที่เราเลือกครับ แหนมเนืองร้านวิชุนดูจากป้ายภาษาลาวเขาเขียนว่า “แนมเนือง” ไม่มี ห. แต่พอมาถึงไทยก็มี ห.หีบเข้าไป เรื่องของภาษาไม่ว่ากันมันเพี้ยนกันไปมาได้ (บางอย่างไม่เพี้ยนเช่น แมว ทั้งไทย ลาว เวียด ต่างพร้อมใจกันเรียกแมว) แหนมเนืองร้านวิชุนมีเครื่องเคียงแบบไทย แต่ที่เห็นเพิ่มขึ้นมาคือปอเปี๊ยะทอด อย่างอื่นเหมือนกันหมด มีกล้วยดิบ กระเทียม พริกขี้หนู หมูก้อนทอดหรือนึ่ง มีขนมจีนด้วย แหนมเนืองร้านวิชุนรสชาตอร่อยแบบของไทยกินไม่ต่างกัน ทั้งน้ำจิ้มและวิธีการกินก็ห่อแผ่นแป้งบางๆกินเหมือนกัน พูดถึงแหนมเนืองเมืองลาวก็ขอเลยไปอาหารเวียดนามที่คล้ายแหนมเนืองอยู่มาก ไม่รู้ว่าจะเป็นบรรพบุรุษของแหนมเนืองบ้านเราได้ไหม ผมได้ลองไปชิมร้านอาหารดังร้านหนึ่งในฮานอย หน้าตาก็คล้ายๆ แหนมเนือง มีน้ำจิ้มรสคล้ายๆกัน มีผักสด ขนมจีน และก็มีหมูก้อน แต่ที่เวียดนามเนี่ย…

Read More



ตลาดเช้า หลวงพระบาง

ตลาดเช้าหลวงพระบาง (Luang Prabang morning market) หมายถึงตลาดที่ขายช่วงเช้าๆ ตลาดจะเริ่มตั้งแต่ตีห้าครึ่ง เรียกว่าเกือบสว่างดีก็ตั้งของขายกันเสร็จหมดแล้ว ตลาดเช้าของหลาวพระบางจะเน้นของของสด กบ เขียด ปลา เป็นๆ โดยเฉพาะผักต่างๆ ขายกันจำนวนมาก สังคมของหลวงพระบางเมืองมรดกโลกเมืองเล็กๆ ไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ผู้คนจึงต้องออกมาซื้อของสดไปกินวันต่อวัน นอกจากได้กินของสดๆ ทั้งผักปลาแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ตลาดสดให้มีต่อไป ไม่ให้มันหายไปพร้อมกับห้างใหญ่ๆ ที่เปิดตามต่างจังหวัดในบ้านเรา ตลาดเช้าของหลวงพระบางไม่ได้เด่นถึงขนาด ตลาดเมืองไชย แขวงอุดมไชย ที่นั้นยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวไปมากเท่าไรนัก วิถีชาวบ้านยังคงเดิมๆ ไม่คุ้นนักท่องเที่ยวแต่ตลาดหลวงพระบางก็มีความเป็นเมืองใหญ่สุดในบรรดาแขวงทางเหนือของลาว ซึ่งจริงๆแล้วตลาดเวียงจันทน์ที่เป็นเมืองใหญ่กว่าหลวงพระบางมากมาย แต่ตลาดสดเขาไม่ได้เป็นแบบดั้งเดิมแบบหลวงพระบางอีกแล้ว ด้วยความเป็นตลาดตลาดใหญ่ ผู้คนก็หลากหลายมาซื้อของสด ทำให้ตลาดดูคึกคักกว่าที่อื่นๆที่ผมผ่านมา ดังนั้นหากมาเที่ยวหลวงพระบาง คงขาดไม่ได้ที่ต้องมาเดินตลาดสดตอนเช้าด้วย ตลอดทริปที่ผมเดินทางตลุยเที่ยวภาคเหนือของลาวครั้งนี้ ตลาดที่ผมชอบมากที่สุดคือตลาดของซำเหนือ หนังสืออย่าง Lonely Planet ก็ยังลงชื่นชมให้ไปเดินกันด้วย ผมกำลังจะเขียนเรื่องตลาดซำเหนือลงเร็วๆนี้ รอติดตามกันนะครับ ตลาดซำเหนือมีจุดเด่นคนละแบบกับหลวงพระบาง ซำเหนือไม่มีนักท่องเที่ยวไปเลย มีก็น้องมาก จึงได้อะไรอีกมุมหนึ่ง แต่หลวงพระบางเป็นเมืองท่องเที่ยว การเที่ยวหลวงพระบางครั้งนี้ผมไปเจอเข้ากับแมลงทับตัวเขียวๆ ร้องดังก้องตลาดยามเช้าเลยครับ ผมก็ไม่ได้ถามว่าคนซื้อแมลงทับเนี่ย เขาซื้อไปกินหรือซื้อไปทำเครื่องประดับ แต่ที่แน่ๆ ในตลาดเมืองไทยเท่าที่ผมเห็นไม่ได้เคยเห็นขายที่ไหนมาก่อน เพราะแมลงทับกำลังจะหมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากนิยมเอาปีกมาทำเครื่องประดับกันจำนวนมาก การที่เห็นแมลงทับมากมายขายที่หลวงพระบางแบบนี้ ก็เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองเขาได้อย่างหนึ่งเช่นกัน…

Read More



เดินไป กินไป เที่ยวไป หลวงพระบาง

หลังจากผมเดินทางมาถึงหลวงพระบางเมื่อวาน ก็ไปเดินเล่นถนนคนเดินหลวงพระบาง และตื่นเช้ามาก็ไปกิน ข้าวจี่หลวงพระบาง ผมก็ยังไม่เห็นว่าหลวงพระบางน่าเที่ยวสมเป็นมรดกโลกตรงไหนเลย ก็เหมือนเมืองท่องเที่ยวทั่วๆไป นักท่องเที่ยวเยอะของแพง กลางวันร้อนตับแล้บ เอ้เมืองมรดกโลกหลวงพระบางต้องมีอะไรดีสินะ วันนี้ผมจะเดินให้ทั่วเลยเพราะจากข้อมูลเมืองหลวงพระบางเขาได้เป็นเมืองมรดกโลกเพราะว่ามีสิ่งปลูกสร้างน้ำมือคน ที่ยังคงความงดงามรักษาวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผมต้องเดินไปแถวๆ ที่ไม่ใช่ที่พักผมแน่นอนเพราะเป็นที่พักราคาไม่แพง ย่อนทำเลไม่ใช่ดีนัก วันนี้ผมจึงจะสำรวจให้ทั่วหลวงพระบางดูจากแผนที่เดินเล่นด้านล่างผมเริ่มเดินจากที่พักออกไปทางริมแม่น้ำโขงแล้วก็เดินอ้อมเป็นวงรอบแม่น้ำโขง แม่น้ำคานกลับมาถนนคนเดิน เส้นทางนี้เดินได้ชิวๆ อากาศดีๆ ระยะทางเดินเล่นอยู่ที่ประณ 3 กิโลเมตรได้ครับ (อาจมากหรือน้อยกว่านี้นะ) ผมเดินไปตามซอยเล็กๆ ทุกซอยเป็นบ้านเก่าๆทั้งหมด สวยงามทุกหลังคา ไม่มีบ้านตึกโผล่มาให้เห็น ชาวบ้านถึงแม้อยู่ในเมืองหลวงพระบาง ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมอันดีงามได้อย่างดีครับ ผมเคยไปเที่ยวพงสาลี ชาวบ้านเรียกกินข้าวกินปลามาแล้ว ที่หลวงพระบางเป็นเมืองท่องเที่ยวคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว ผมเดินเล่นไปเจอชาวบ้านเขาทำอาหารเย็นเตรียมไปทำบุญ ก็เลยไปคุยกับเขา และนิสัยใจคอแบบไทยลาวก็เหมือนกัน แขกมาถึงเรือนชานให้ต้อนรับ ยกน้ำมาให้คุยอย่างมิตรภาพเลยครับ ที่ผมสังเกตเห็นหลวงพระบางยังมีการก่อสร้างตลอดเวลา แต่ทำไมถึงยังรักษาบ้านเก่าๆไว้ได้อย่างดี ผมจึงไปคุยกับชาวบ้านและคนหลวงพระบางจึงรู้ว่าเมืองหลวงพระบาง เมื่อเป็นเมืองมรดกโลกแล้ว เขาจะมีคณะกรรมการของต่างประเทศที่ดูแลมรดกโลก ทำงานร่วมกับคนท้องที่ ควบคุมเรื่องการก่อสร้างปรับปรุงอาหารบ้านเรือนทั้งหมด โดยมีกฎที่เข้มอยู่ว่า สิ่งปลูกสร้างเดิมเป็นอย่างไรหากจะปรับปรุงซ่อมแซมต้องทำเหมือนเดิม สูงห้ามเกินของเดิม วัสดุที่ใช้ก็ต้องเช่นเดิม!!! มิน่าล่ะเขาถึงยังคงอะไรเก่าๆได้ถึงวันนี้ ผมยิงเดินไปลึกมากขึ้น ก็เห็นคุณค่าของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางมากขึ้นว่าสมควรแล้วที่ได้มาซึ่งหลวงพระบางเมืองมรดกโลก ผมได้ไปคุยกับเจ้าของเกสเฮ้าส์ข้างๆ ที่ผมพักเขาบอกผมว่ามีบ้านบางหลังมุงหลังคาด้วยดิน และหากจะซ่อมแซมต้องใช้หลังคามุงดินเช่นเดิน ซึ่งหลังคาดินนั้นหายากแล้ว หากหาได้ทำได้ก็ต้องราคาสูง ทำไปทำมา บ้านหลังนี้ก็ยังคงมีให้เห็นแบบเดิมๆ หลังคาดินไม่มีใครไปทำอะไรต่อ…

Read More



ข้าวจี่ อาหารเช้าของชาวหลวงพระบาง

หลายๆคนที่เคยไปหลวงพระบางหรือเมืองลาว ไม่ว่าจะแขวงไหน คงได้มีโอกาสได้เห็นเจ้าแท่งขนมปังยาวๆ ที่วางขายกันตามริมทางกันแล้ว เจ้าแท่งขนมปังแบบนั้นคนลาวเขาเรียกกันว่าข้าวจี่ ข้าวจี่กินได้ทั้งแบบไม่ต้องปรุงแต่งอะไรเลย หรือกินเปล่าๆก็กินได้เลย หรือจะไปปรุงเครื่องใส่นู้นใส่นี่ก่อนก็ได้ ตอนที่ผมออกทริปเที่ยวสะใจครั้งนี้ ฝากท้องฝากไส้ไว้กับเจ้าขนมปังยาวๆนี้หลายมื้อ บางมื้อไม่ได้เลือกซื้อให้ดีก่อนก็เคยเจอแบบขึ้นรามาแล้ว สำหรับวันนี้มาที่หลวงพระบาง คนหลวงพระบางกินข้าวจี่แบบปรุงใส่เครื่องหลายอย่าง ผมจึงลองชิมดูหน่อยว่าเป็นอย่างไร ชาวหลวงพระบางนั้นอาหารมื้อเช้าจะเป็นอาหารง่ายๆ บ้างก็เฝอ หรือไม่ก็ข้าวจี่แบบที่เห็น ส่วนมื้อกลางวันก็เฝออีก มื้อเย็นเป็นอาหารตักขายในซอยที่ผมแนะนำ(ซอยอาหารราคาถูก) กิจวัตรของคนเมืองหลวงพระบาง คนวัยกลางคนและคนมีอายุหน่อยจะตักบาตรกันในตอนเช้า เมื่อเขาตักบาตรกันเสร็จส่วนหนึ่งก็จะมาซื้อข้าวจี่กินกันก่อนกลับบ้าน ผมจะเขียนเรื่องลงให้ตอนหน้าครับ เพราะอยากจะสารภาพเหลือเกินว่า วันนี้ผมตื่นสายไม่ทันตักบาตรข้าวเหนียว จึงต้องมาเดินเล่นถ่ายบรรยากาศเช้าๆและเจอเข้ากับข้าวจี่แบบนี้ ร้านข้าวจี่ของหลวงพระบางตั้งอยู่ตรงสี่แยกถนนคนเดิน เมืองหลวงพระบางนั้นแคบมากๆ อย่าได้คิดเปรียบเทียบกับเชียงใหม่เด็ดขาด เมืองคนละขนาดกันเลย ดังนั้นไม่มีหลงถามทางนิดเดียวไปถูกทั้งเมือง ร้านข้าวจี่จะขายช่วงเช้าเท่านั้น เมื่อนักท่องเที่ยวมามากขึ้นวิถีของคนขายข้าวจี่ก็เปลี่ยนไปด้วย จากที่กินกันเองในเมืองหลวง ก็ขายให้นักท่องเที่ยว คนขายข้าวจี่ speak English เรียกลูกค้าฝรั่งอย่างคล่องแคล่ว แต่คนพื้นที่เองก็ยังยืนหยัดกินข้าวจี่กันอยู่แบบเดิม การทำข้าวจี่ของหลวงพระบาง เริ่มต้นก็เอาแท่งขนมปังข้าวจี่ ทาด้วยแจ่วบองหลวงพระบาง แจ่วบองหลวงพระบางไม่เหมือนแจ่วบองอีสานนะครับ จะออกเป็นคล้ายๆน้ำพริกเผาบ้านเรามากกว่า เมื่อทาแจ่วบองเสร็จ ก็ใส่แตงกวา ใส่ไข่เส้น หมูยอเส้น ใส่ซอสมะเขือเทศ ก็เสร็จพิธี นำไปห่อกระดาษหลังจากนั้นบางคนจะตัดสองท่อนหรือไม่ตัดก็ได้ ข้าวจี่ที่ปรุงแบบที่ผมบอกนี้ เป็นแบบมาตรฐานที่คนหลวงพระบางชอบกันมาก ใครอยากอินกับบรรยากาศหลวงพระบาง ก็บอกให้เขาทำสูตรนี้ได้ครับ หลังจากผมจัดการเรื่องข้าวจี่เรียบร้อย ก็เดินเล่นชมบรรยากาศตอนเช้าของหลวงพระบางกันหน่อย ที่ถนนคนเดินช่วงกลางคืน…

Read More