ถนนสายต้นสนไปอมก๋อย

เคยไปทางระยอง ชลบุรี หรือไปเพชรบุรี สวนสนที่นั่นที่ขึ้นริมน้ำทะเลว่าเยอะ มาเจอเส้นทางจากแยกไปอมก๋อย สองข้างทางเป็นป่าสน สวนสนเต็มไปหมดเลยครับ และขึ้นเรียงกันสวยงามอีกตะกาก ทีแรดคิดว่ามีนิดเดียว แต่ผ่านไป 5 กิโลเมตรยังคงมีอยู่ เลยต้องย้อนกลับมาถ่ายคลิปให้ชมกัน สนที่นี่อยู่ริมถนนสองข้างทางไปเกือบตลาอดเส้นทาง 30 กว่ากิโลเมตรไปอำเภออมก๋อยครับสำหรับสนที่อมก๋อยมีทั้งปลูกเองและป่าสน สำหรับป่าสนนั้น พบในบริเวณที่มีความสูง 700 เมตรขึ้นไปจึงพบตามภูเขาสูงทั่วไป เช่นดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง ดอยผ้าห่มปก เป็นต้น ในเขตอำเภออมก๋อยจะมีต้นสนขึ้นปะปนอยู่กับป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ต้นสนที่พบในเชียงใหม่มี 2 ชนิด คือ สนสองใบ และสนสามใบตลอด 30 กิโลเมตรทางไปอมก๋อยดีตลอด วิวสวย อากาศดี เปิดกระจกชมวิวได้เลย สวนสนขึ้นสองฝั่ง บางช่วงเจอชาวเขาขอโดยสารรถด้วยก็ช่วยๆกันไป เที่ยวแบบนี้สรุกมากครับ mr.Hotsia

Read More



เที่ยววัดแสนทองอมก๋อย

หากมาเที่ยวอมก๋อยสิ่งที่ที่ควรไปสักการบูชาคือพระเจ้าแสงทอง ที่วัดแสงทอง ผมเองเมื่อไปถึงอมก๋อย ไม่รู้อะไรดลใจให้จอดรถตรงสะพานไม้ และไปถ่ายรูปจนไปพบกับวัดนี้โดยไม่รู้ข้อมูลมาก่อนว่าเป็นวัดประจำอำเภออมก๋อย ที่วัดนี้มีหลวงพ่อแสนท่องหรือพระเจ้าแสนท่องที่คนอมก๋อยนับถือกันอย่างมากครับ ผมถ่ายรูปสะพานไม้ก่อนเดินไปไหว้พระเจ้าแสนทองซึ่งเป็นทองอร่ามเหลืองสวยงามมาก ทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ประวัติของพระเจ้าแสนทองไม่ธรรมดาเลย ผมไปได้ข้อมูลมาจากเว็บของอำเภออมก๋อย เลยเอามาลงไว้ให้ด้านล่างนี้ครับ มาดูประวัติของพระเจ้าแสนทองกัน พระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ไม่ปรากฎว่ามีการสร้างขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอมก๋อยหลายท่าน อาทิ พ่อหนานคำปัน อดีตเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนทอง พ่อหนานศรีรัตน์ เล่าว่า เดิมพระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปที่มาจากทางภาคกลาง แถบเมืองละโว้ ลพบุรี พระนางจามเทวีผู้ครองนครลำพูนเป็นผู้นำขึ้นมาทางเหนือ ในสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก คนโบราณใช้วิธีการขนส่งสิ่งของโดยการใช้เรือ ซึ่งเป็นการคมนาคมทางน้ำที่สะดวกมาที่สุด และไม่มีเครื่องยนต์จะใช้กำลังคนเป็นผู้ค้ำถ่อเรือ ครั้งหนึ่งพระนางจามเทวีได้รับเชิญจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้มาครองหัวเมืองลำพูน ก่อนที่พระนางจะสเร็จมาถึงเมืองลำพูนนั้นได้มีเหล่าฤาษี 5 ตน ซึ่งต่างพากันดีใจ และได้ร่วมกันสร้างพระรอดมหาวันลำพูนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองพระบารมีของพระนางจามเทวี ฤาษ๊ 5 ตน ต่างพากันรวมใจตั้งจิตอธิษฐานและร่วมใจสร้างพระรอดขึ้นมาทั้ง 5 แบบพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล้ก พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ตื้น แล้วนำไปถวายให้กับพระนางจามเทวี เมื่อพระนางจามเทวีได้รับพระรอดมหาวันลำพูนแล้ว ได้แจกจ่ายให้กับไพร่พลทหราร ครั้งหนึ่งได้เกิดสงครามกับพวกพม่า ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองลำพูน พวกทหารของพระนางจามเทวีต่างก็มีพระรอดมหาวันเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี สามารถต่อสู้กับพวกพม่าได้จนมีชัยชนะจนถึงขั้นเป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันและแทงไม่เข้า พระรอดมหาวันมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมเล่นเครื่องรางของขลังให้ราคาพระรอดรุ่นฤาษี…

Read More



ชาวปะหล่อง บ้านนอแล ดอยอ่างขาง

เมื่อผมเดินทางมาเที่ยวดอยอ่างขางได้เห็นจากข้อมูลว่ามีชาวเผ่าปะหล่องที่บ้านนอแล เขตชายแดนไทยพม่า จึงไปเที่ยวทันที ในวันที่ผมไปนั้นเป็นวันออกพรรษพอดีเลย ชาวปะหล่องเขาจะมีพิธีการของเขา เนื่องจากชาวปะหล่องนับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดและมีพิธีการในวันนี้ เป็นโชคดีของผมจริงๆครับผมเดินตามเสียงดนตรีไปที่วัดนอแลวันนี้ผู้หญิงปะหล่องทั้งหมู่บ้านสวนเสื้อผ้าสีแดงสดในเครื่องแบบเต็มยศของชาวปะหล่อง ในวัดมีพระนั่งอยู่ และมีหญิงชาวปะหล่องขับร้องบทกวีอะไรสักอย่างที่ผมฟังไม่ออกเนื่องจากชาวปะหล่องเขาจะมีภาษาของเขาเองครับ ในศาลาวัดยังมีคนนั่งอยู่หลายคน ส่วนข้างนอกมีดนตรีของชาวประหล่องประกอบด้วยฆ้อง กลอง และฉาบ และมีการแสดงรำในแบบของเขา ซึ่งผมดูแล้วคล้ายๆพม่าครับในตอนสุดท้ายเขาจะมีพิธีการจุดโคมยี่เป็ง มีดนตรีและมีการร้องเพลงปะหล่องโบราณไปด้วย ช่วงนี้ชาวปะหล่องจะยกมือไหว้และร้องเพลงบรรยากาศขลังมากผมมองแล้วยังขนลุกเลยครับ ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อน ผมดูพิธีการของเขาอยู่จนจบพิธีตอนค่ำแล้วเดินกลับลงจากวัดพร้อมกับเขา ตลอดทางเขาจะร้องเพลงและตีฆ้อง กลอง ฉาบ ตลอดทาง เขายังชวนให้ผมอยู่ดูพิธีในวันถัดไปและชวนให้พักในหมู่บ้าน แต่ผมไม่ได้ตอบรับเพราะต้องไปถ่ายที่บรรยากาศดอยแม่สลองยามค่ำคืนต่อครับ สำหรับชาวปะหล่องที่บ้านนอแลนี้ผมอ่านข้อมูลที่ฐานนอแล ชาวปะหล่องได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านนอแลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ยังมีข้อมูลชาวปะหล่องเพิ่มเต้มจาก วัฒนธรรมภาคเหนือ (http://www.baanmaha.com/community/thread32873.html) ดังนี้ ปะหล่อง อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 หมู่บ้านคือ บ้านนอแล บ้านห้วยหมากเหลี่ยม บ้านสวนชา อำเภอฝาง และบ้านปางแดง อำเภอ เชียงดาวชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก “คุณลอย” หมายถึง คนดอย ส่วนชาว พม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า…

Read More



น้ำพุร้อนฝาง

น้ำพุร้อนฝางหรือน้ำพุร้อนแม่ฝางเดิม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (เปลี่ยนชื่อมาจากอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก) ที่นี่มีดอยผ้าห่มปกอันโด่งดัง วันนี้ผมมาเที่ยวที่อำเภอฝาง และจะไปดอยอ่างขางต่อจึงไม่มีโอกาสไปดอยผ้าห่มปก ได้แค่พาเที่ยวน้ำพุร้อนฝางด้านล่างและห้วยแม่ใจนิดหน่อยครับ ผมได้ไปเที่ยวน้ำพุร้อนทั้งที่สันกำแพง น้ำพุร้อนเทพนม น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน เมื่อมาน้ำพุร้อนฝางจึงเห็นเป็นของเด็กๆไปเลยครับ น้ำดูแห้งแล้งและไม่ค่อยร้อน ต้มไข่จากสมัยก่อนที่ใช้เวลาไม่นานตอนนี้ปาเข้าไปครึ่งชั่วโมง อาจเป็นเพราะปัญหาโลกร้อน โลกไม่ร้อน เออย่างไหนกันแน่ ทำให้น้ำพุร้อนแทบไม่มีน้ำเลยครับ ทางอุทยานเขาจึงทำน้ำพุร้อนจำลองให้มันพ่นออกมาในอากาศสูงหลายเมตร น้ำพุกึ่งปลอมแบบนี้จะพุ่งออกมาจากใต้ดินจริงๆในทุกๆ 30 นาที แต่ยังงัยก็ทดแทนน้ำพุร้อนธรรมชาติไม่ได้ แค่ดูสวยๆเฉยๆครับ จากน้ำพุร้อนเดินเข้าไปอีกนิดจะไปเจอห้วยแม่ใจ ห้วยนี้ไหลผ่านไปในเมืองฝางด้วยตอนผมเดินเล่นเมืองฝาง ก็เจอห้วยนี้ครับ ที่ห้วยแม่ใจเนี่ยววัยรุ่นฝางเขานิยมมาเล่นน้ำมันมากๆ เพราะน้ำแรงเย็นสบาย และไม่ลึกเหมาะสำหรับกระโดดเล่นเป็นที่สุด ข้อมูลทั่วไปของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จากเว็บอุทยานแห่งชาติครับ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก เปิดให้ขึ้นดอยผ้าห่มปกได้แล้ว โดยต้องขึ้นดอยก่อน 15.30 น. ต้องใช้รถ4WD ห้ามรถเก๋ง รถตู้ ขึ้นดอย เพราะยังเป็นทางลูกรัง สามารถติดต่อรถให้บริการ 1800 บาท/8 คน (ค้างคืน) ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวค่ะ สำหรับที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (น้ำพุร้อนฝาง) สามารถใช้บริการอาบ-อบน้ำแร่ และนวดแผนไทย เพื่อสุขภาพได้ทุกวัน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 น.-19.00 น. สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปกเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว…

Read More



ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นร้านร้านทิพรส เมืองฝาง

ไปเที่ยวที่ไหนผมก็ชอบหาที่อร่อยๆและไม่แพงลองชิมดู มาที่อำเภอฝางนี่ก็เช่นกัน ที่ฝางนี้ง่ายครับ หม่อมราชวงค์ถนัดศรีเขาเคยมาชิมร้านนี้ ผมก็ไปลองชิมอีกทีนึ่งว่าอร่อยถูกใจผมไหม ถ้าถูกใจก็มาแนะนำกันครับ ร้านนี้อร่อยจริงโดยเฉพาะเนื้อตุ๋นเขาทำให้อร่อยมาก แต่ผมว่าเนื่อมันแข็งๆไปนิดนึง ไม่รู้คิดไปเองเปล่าลองไปชิมกันดูครับ อีกอย่างที่ต้องแนะนำคือหมูสะเต๊ะ อร่อยหอมสุดๆ ผมกินทีละสองไม้จานนึงผ่านไปยังไม่พอ ของเขาดีอร่อยครับ ร้านนี้ตั้งอยู่ตรงทางออกจากฝางมุ่งหน้าไปทางเชียงดาว ร้านอยู่ทางซ้ายมือ ตรงข้ามที่ทำการไปรษณีย์อำเภอฝาง ที่อยู่คือ 399 หมู่ 5 ตรงข้ามที่ทำการไปรษณีย์อำเภอฝาง โชตนา เวียง ฝาง เชียงใหม่ 50110 เบอร์โทร 0-5345-1024

Read More



แท่นขุดเจาะน้ำมันที่ฝาง

ใครที่เคยผ่านไปทางฝางจะเห็นเครื่องขุดเจอะน้ำมันตั้งอยู่ข้างทางเป็นแบบจำลอง หากใครที่ไม่เคยเห็นของจริงลองแวะเข้าไปเที่ยวสักนิด จะได้ความรู้ติดตัวกลับบ้านเรื่องการขุดเจาะน้ำมันครับ เมื่อผมเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันที่แม่สูนจึงตามไปเที่ยวข้างในทันที เข้าไปไม่ไกลนักมีเครื่องขุดเจาะน้ำมันทำงานอยู่สองเครื่อง เครื่องแบบนี้จะเจาะลงไปประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วน้ำมันดิบที่ได้มาใส่ถังก่อนแล้วจึงมีรถบรรทุกมารับไปอีกทีหนึ่ง เครื่องทำงานมีเสียงดังพอตัว เครื่องขุดจะทำงานตลอดเวลา ผมไปดูตรงที่ได้น้ำมันดิบออกมา ถึงรู้ว่าน้ำมันดิบจริงๆหน้าตาเป็นแบบนี้นี่เองเดินไปจากตัวแรกเข้าไปอีกนิดจะมีโซนที่คนงานขึดเจาะเขาอยู่ ตรงนี้มีอีก 1 แท่น และมีเครื่องกำลังขุดหาอยู่ด้วยครับ ที่รู้เพราะว่ามีป้ายบอกไว้ แท่นขุดเจาะน้ำมันที่ฝางนี้มีอายุความเป็นมาร้อยปี  ประวัติความเป็นมา ประมาณร้อยปีเศษที่ผ่านมา ชาวบ้านท้องที่อำเภอ ฝางเขตท้องที่ตำบลแม่สูน พบน้ำมันลักษณะสีดำไหลซึมขึ้นมา บนผิวดิน บางคนว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาทาร่างกายเพื่อ รักษาโรคต่างๆ ความทราบถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่จึงสั่งให้ขุดบ่อ เพื่อกันน้ำมันไว้เรียกกว่า “บ่อหลวง” หรือ “บ่อเจ้าหลวง” ต่อ มาหน่วยราชการหลายฝ่ายสนใจทำการสำรวจและดำเนินงานต่อ กันมาหลายสมัย สรุปได้ดังนี้ พ.ศ. 2465 กรมรถไฟ โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝางจึงจ้าง นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Mr Wallace Lee ทำการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2464 – 2465 พบเพียงร่องรอยก๊าซ ธรรมชาติเจาะลึก 185 เมตร…

Read More



โรตีดอยอ่างขาง

ในอากาศที่หนาวบนดอยอ่างขาง โรตีร้อนๆสักแผ่นช่วยคลายหนาวได้เยอะครับ Mr.Hotsia ผมขอแนะนำโรตีดอยอ่างขางสักหน่อย ร้านนี้เป็นร้านอิสลามครับ เจ้าของมาจากยูนนาน คนทำเป็นผู้ชาย ผมเล็งเจ้าโรตีไว้ตั้งแต่กลางวันตอนเขาตีแป้งแล้ว เพราะมันใหญ่โตน่ากินเหลือเกิน ร้านโรตีดอยอ่างขางจะมีคนกินตั้งแต่มืดๆ และคนเยอะถึงขั้นต่อคิวบางช่วง ที่นี่เขาเน้นโรตีก้อนใหญ่ ใส่ไข่ใบโตๆ หอม หวาน อร่อยที่สุด ผมสั่งแบบใส่กล้วยหอม ใส่ไข่ แล้วหั่นไปกินร้านดอกเหมยข้างๆครับ ยอมรอบว่าอร่อยและเยอะจุใจผมมากนอกจากโรตียังมีซาราเปา หมั่นโถ ขายอยู่ข้างๆกัน เป็นร้านเดียวกันแต่ให้ลูกสาวไปขาย ส่วนแม่ขายอาหารด้านใน มาดอยอ่างขางมาลองชิมกัน และส่งข่าวด้วยว่าอร่อยอย่างผมบอกไหม mr.Hotsia

Read More



เดินเล่นในหุบเขาดอยอ่างขางกลางคืน

การเที่ยวดอยอ่างขางนั้นส่วนใหญ่จะขับรถขึ้นไปเอง (ดูการเดินทางและแผนที่ดอยอ่างขาง) ทางขึ้นดอยอ่างขางนั้นจะชันและคดเคี้ยวยาว 10 กว่ากิโลเมตร ใครจะขับรถขึ้นดอยอ่างขางเองต้องดูสภาพรถให้ดี และต้องขับขึ้นเขาเป็น ใช้เกียร์ต่ำค่อยๆขึ้นและลงเพื่อความปลอดภัยครับ ดอยอ่างขางในมุมของนักท่องเที่ยวนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันก็เที่ยวภายในสถานีเกษตรโครงการหลวง รวมถึงไปบ้านนอแลดูชีวิตของชาวหล่อง ส่วนกลางคืนใครพักแถวๆหน้าโครงการก็เดินเล่นตากลมหนาวชิมชาและทานอาหารค่ำ ส่วนใครกางเต็นท์ที่จุดกางเต้นก็ก่อกองไฟสนุกสนานกับเพื่อนฝูง เป็นรูปแบบของการท่องดอยอ่างขางในวันนี้ครับ สำหรับ Mr.Hotsia ผมได้ที่พักที่โรงแรมจี๊ดจ๊าด เป็นทั้งร้านของฝากและห้องพัก ที่นี่มีอินเตอร์เน็ต WIFI แต่ต้องมาเล่นข้างล่าง และเปิด 24 ชั่วโมง จะปิดประมาณเที่ยงคืน ผมจัดเอาของเก็บแล้วก็ออกมาเดินเล่นด้านหน้าที่พัก สามารถเดินได้รอบ คึกคักดีครับ เป็นเมืองอีกเมืองน่าเที่ยวจริงๆกิจกรรมกลางคืนขอแนะนำไปลองกินโรตีดอยอ่างขาง ไปกินอาหารยูนนานแบบผม แล้วเดินเล่นสักรอบ ดูวิวภูเขาหินปูนที่ล้อมรอบหุบเขาอ่างขาง ผมว่าที่นี่คล้ายๆเมืองงอยของลาวครับ mr.Hotsia

Read More



ร้านกาแฟดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขางมีดอกไม้เมืองหนาวที่สวยงามมากมายยิ่งนัก และเมื่อมีร้านกาแฟในสวนดอกไม้ละจะสวยงามและมีความสุขแค่ไหน หากได้มาจิบกาแฟร้อน ในวงล้อมของดอกไม้เมืองหนาวนานาชนิด วันนี้ผมจึงขอแนะนำร้านกาแฟดอยคำ ร้านกาแฟของโครงการหลวงตั้งอยู่ที่อาการขายของฝากในดอยอ่างขาง เข้าไปอยู่ขวามือเลยครับ กาแฟดอยคำกาแฟสดที่ได้มาตรฐานอยู่แล้วเมื่อมาขายในสวนดอกไม้ยิ่งน่าชิมครับ ผมแนะนำว่าหากเดินทางไปดอยอ่างขางให้แวะจุดนี้ก่อนเลยเพื่อซื้อกาแฟจิบไประหว่างทางที่ชมดอยอ่างขาง หรือใครจะแวะขาออกก็ไม่ว่ากัน ส่วนกาแฟที่แนะนำหากมาหน้าหนาวต้องกาแฟร้อนเท่านั้นครับ เพื่อช่วยให้อุ่นขึ้น เพราะที่นี่หนาวตลอดปี อีกอยากปกติเวลาไปนั่งร้านอาหารหรือร้านกาแฟส่วนใหญ่ดอกไม้จะเป็นดอกไม้ปลอมทั้งนั้น แต่ที่นี่เป็นดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ อยู่บนโต๊ะกาแฟเลยครับ ได้บรรยากาศสุดๆ เที่ยวดอยอ่างขางกันให้สนุกนะครับ mr.hotsia เที่ยวสะใจ

Read More



ดอยอ่างขาง

การเที่ยวดอยอ่างขางนั้นส่วนใหญ่จะขับรถขึ้นไปเอง (ดูการเดินทางและแผนที่ดอยอ่างขาง) ทางขึ้นดอยอ่างขางนั้นจะชันและคดเคี้ยวยาว 10 กว่ากิโลเมตร ใครจะขับรถขึ้นดอยอ่างขางเองต้องดูสภาพรถให้ดี และต้องขับขึ้นเขาเป็น ใช้เกียร์ต่ำค่อยๆขึ้นและลงเพื่อความปลอดภัยครับ ดอยอ่างขางในมุมของนักท่องเที่ยวนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันก็เที่ยวภายในสถานีเกษตรโครงการหลวง รวมถึงไปบ้านนอแลดูชีวิตของชาวหล่อง ส่วนกลางคืนใครพักแถวๆหน้าโครงการก็เดินเล่นตากลมหนาวชิมชาและทานอาหารค่ำ ส่วนใครกางเต็นท์ที่จุดกางเต้นก็ก่อกองไฟสนุกสนานกับเพื่อนฝูง เป็นรูปแบบของการท่องดอยอ่างขางในวันนี้ครับดอยอ่างขางยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งในไม่กี่ที่ ที่เป็นลักษณะชุมชนในหุบเขา เมืองที่ว่าเช่น เมืองปาย ดอยแม่สะลอง หรือเมืองในหุบเขาซาปาประเทศเวียดนาม เมื่อมีชุมชนบวกกับหาจัดการที่ดีทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมช่วงหน้าหนาวที่นักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวไม่ได้หมายถึงมาชมความงานตามธรรมชาติเท่านั้น ยังหมายถึงมาเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในถิ่นต่างๆด้วยสำหรับที่พักที่ดอยอ่างขางมีค่อนข้างมาก ราคาตั้งแต่ห้องละ 500 บาทขึ้นไป ส่วนเรื่องน้ำผมว่าบางครั้งน้ำไม่แรง ทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ทำงาน อาบน้ำอาจหนาวเหน็บได้ ดังนี้ไปพักที่ไหนควรดูเรื่องน้ำก่อนว่าแรงไหม ส่วนอินเตอร์เน็ตบางที่มีครับต้องถามกันดูเองการมาเที่ยวดอยอ่างขางของผมในวันนี้นอกจากชมดอกไม้ หาความรู้ทำความรู้จักกับพืชเมืองหนาวแล้วผมยังได้ไปเที่ยวหมู่บ้านชายแดนพม่าคือหมู่บ้านนอแลด้วย ยามคำคืนก็เที่ยวในหุบเขาดอยอ่างขางที่คึกคัก เดินเล่นไม่เหงาครับ เรื่องเที่ยวดอยอ่างขางมีหลายเรื่องผมจะทยอยเขียนไปตามอันดับ ตอนนี้มาทำความรู้จักดอยอ่างขางกันก่อน ซึ่งเป็นข้อมูลจากวิกิพีเดียดอยอ่างขางครับ  

Read More