น้ำพุร้อนสันกำแพง

น้ำพุร้อนสันกำแพงตอนนี้ย้ายมาอยู่ในเขตอำเภอแม่ออนแล้ว แต่ชื่อน้ำพุไม่ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นน้ำพุร้อนแม่ออนครับ น้ำพุร้อนสันกำแพงเป็นที่ท่องเที่ยวคลาสสิกตลอดกาลที่ไม่มีวันหลุดโผ เพราะว่าต้อนรับคนได้ทุกเพศวัย มานั่งกินข้าว แช่น้ำแร่ อาบน้ำแช่ แช่ไข่เล่น หรือมาเดินชมสวยก็ได้ ทำให้น้ำพุร้อนสันกำแพงดังตลอดไม่มีตก ในขณะที่น้ำพุอื่นๆบางอันที่ผมเคยไปน้ำที่เคยมีกลับแห้งขอด ที่น้ำพุร้อนสันกำแพงยังคงแรงเหมือนเดิน ร้อนไม่เปลี่ยนแปลงครับ กิจกรรมที่ควรทำคือการต้มไข่ เพราะจะได้แร่ธาตุจากน้ำแร่เข้าไปในไข่ด้วย อีกอย่างที่นิยมคือการแช่เท้าในน้ำแร่ครับการเดินทางไปน้ำพุร้อนสันกำแพง รถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทาง 2 เส้นทางคือ – หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน มีป้ายบอกชัดเจนตลอดเส้นทาง – เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง- สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอน ซึ่งอยู่ห่าง จากน้ำพุร้อน 4 กิโลเมตร)2. รถโดยสารสารธารณะ หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเดินทางไปโดยรถประจำทางก็สามารถทำได้ โดยขึ้น รถจากสถานีขนส่งช้างเผือก ไปยัง สันกำแพงและเช่าเหมารถสองแถวจากสันกำแพง ไปน้ำพุร้อนราคาประมาณ200 บาทต่อคัน นอกจากนี้ยัง มีรถบริการของน้ำพุร้อนซึ่ง ออกจาก ททท. เชียงใหม่ เวลา 10.00 น. และกลับจากน้ำพุร้อนเวลา13.00 น. ทุกวัน ในราคา 80 บาทต่อคน

Read More



ผาวิ่งชู้

  เอาเรื่องชื่อให้เคลียกันก่อนเลยครับ ผาวิ่งชู้เป็นชื่อสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ดูรูปจากด้านบนนี้ได้เลย คนละที่กับอ่างเก็บน้ำผาวิ่งชู้จังหวัดลำปางที่เป็นข่าวนะครับอย่าสับสน และเป็นคนละที่กับผาชู้จังหวัดน่าน ที่นั่นผาชู้หรือผาจู้หรือผาที่ชนกัน ส่วนที่ผมพาที่วันนี้ “ผาวิ่งชู้” อำเภอฮอดครับ การเดินทางไปผาวิ่งชู้เริ่มจากฮอดขับตรงไปทางใต้ ไปทางอำเภอฮอดเก่าที่จะไปดอยเกิ้ง สังเกตทางขวาจะมีวัดสีแดง พระยืนสีแดง ใหญ่มาก ให้เลี้ยวซ้ายหน้าวัด ตรงไปข้ามแม่น้ำปิง ตรงไปอีกนิดจะมีแยกทางซ้าย ขับตามเส้นทางอีก 5 กิโลเมตร มีแยกซ้ายไปผาวิ่งชู้ ป้ายติดให้รถฝั่งตรงข้ามอ่านนะ ต้องหันมาดูเอง เลี้ยวซ้ายตรงนี้ตรงไปเจอน้ำปิงก็ถึงผาวิ่งชู้ครับ (ดูแผนที่ด้านล่าง)ผาวิ่งชู้เป็นหน้าผาตามธรรมชาติดูแปลกตาเป็นรูปเกือกม้ากว้างประมาณ 100 เมตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง เป็นไปได้ที่เกิดจากน้ำปิงกัดเซาะ ผาตรงสูงชัน 90 องศาเลยครับ ไปเที่ยวระวังกันด้วยตกมาตายแน่ๆเล่าเรื่องตำนานกันนิดหน่อย ที่ผาวิ่งชู้จะมีรูปปั้นชายหญิงขี่ม้าอยู่ ว่ากันว่าที่ผานี้เคยมีชายหญิงรักกันและขี่ม้ามาตรงจุดนี้ ในขณะที่โดนติดตามและไม่มีทางเลือก จึงเอาผ้าปิดตาม้าและกระโดดจากหน้าผา จึงได้ชื่อว่าผาวิ่งชู้มาจนถึงปัจจุบัน mr.Hotsia

Read More



เมืองฮอดโบราณที่ถูกน้ำท่วมกลับมาแล้ว

เมืองฮอดหรืออำเภอฮอดในปัจจุบัน สมัยก่อนไม่ได้อยู่ตรงทางผ่านจากจอมทองมุ่งหน้าไปแม่สะเรียงนะครับ เมืองฮอดนั้นอยู่ลงไปทางใต้อีกหลายสิบกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการสร้างเขื่อนภูมิพล ทำให้ต้องย้ายประชาชนในหลายหมู่บ้าน เช่นที่ดอยเต่า อมก๋อย รวมทั้งฮอดด้วย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนท่วมถึงแม่ว่าจะอยู่ไกลจากเขื่อนภูมิพลนับ 100 เมตรก็ยังมีน้ำเต็มท่วมอำเภอฮอดเดิมด้วย สี่สิบปีผ่านไปหลายพื้นที่แห้งแล้งหลายพื้นที่น้ำท่วมหนัก แต่ผมได้ดูข้อมูลของปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลปรากฏว่าน้ำลดลงในทุกๆปี (ดูได้ที่ซากทพเลสาบดอยเต่า) สอดคล้องกับภาพที่เห็นคือเมืองฮอดโบราณที่เคยจมน้ำ บัดนี้กลับขึ้นมาแล้วเห็นได้ชัดเจนคือซากเจดีย์ที่เคยจมน้ำ ส่วนพื้นที่โดยรอบๆ ชาวบ้านได้อาศัยเป็นที่เพาะปลูกพืช ข้าวโพดและถั่ว อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อบอกให้โลกรู้โดยทั่ว โดยเฉพาะชาวไทยทุกคนว่าธรรมชาติเล่นงานเราหนักแล้ว ต้องช่วยกันดูแลธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องของป่า ลำพังคนดอยเต่า คนฮอดคงช่วยได้ไม่มากนัก นอกจากส่งเสียงร้องเบาๆผ่านป้ายริมถนนว่าต้องช่วยกัน ผมเห็นป้ายแล้วรู้สึกว่าผมน่าจะใช้บทความนี้ช่วยได้บ้าง

Read More



วัดพระบรมธาตุดอยเกิ้ง

ผมเดินทางไปเที่ยวดอยเกิ้งเพราะชาวดอยเต่าบอกผมว่า บนดอยเกิ้งนั้นวิวสวยที่สุดเท่าที่เคยพบมา ผมจึงอยากรู้จริงๆว่าวิวบนดอยเกิ้งที่เป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยเกิ้งด้วยนั้นวิวจะสวยแค่ไหน และอีกอย่างหนึ่งคือช่วงที่ผมไปเที่ยวทะเลสาบดอยเต่านั้นมันแห้ง เลยอยากดูวิวในมุมสูงว่าจะสวยขนาดไหน วัดพระบรมธาตุดอยเกิ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอยเต่าประมาณ 60 กิโลเมตร การเดินทางไปดอยเกิ้งนั้นไปได้สองทางครับ หากมาจากดอยเต่า ก็ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำปิงหรือข้ามทะเลสาบดอยเต่า แล้วเดินขึ้นไปบนดอยเกิ้งอีก 2 ชั่วโมง (เฉพาะช่วงมีน้ำ พ.ย. – มกราคม) หากมาทางรถยนต์ก็ให้มาจากอำเภอฮอดวิ่งไปทางท่าเดื่อตรงไปเรื่อยๆ จนสุดทางจะมีทางบอกไปดอยเกิ้งทั้งเส้นทางไม่หลงแน่นอน แต่ที่จะทำให้ยากคือเส้นทางขึ้นดอยเกิ้งไม่ได้ดีน่ะสิครับ เป็นหินบ้าง ทรายบ้าง ปูนบ้าง ผ่านหน้าผาชันคดเคี้ยว ทางบางช่วงแคบเหลือเกินสวนกันไม่ได้เลย ดังนี้หากเป็นรถเก๋งไม่แนะนำ และต้องคนขับรถขึ้นเขาเป็นเท่านั้นครับ เมื่อจดรถต้องเดินต่อไปด้านบนพระธาตุอีกนิดหน่อยเป็นบันไดยาวขึ้นไป แต่เมื่อเดินทางมาถึงด้านบนพระธาตุดอยเกิ้งแล้วจะหายเหนื่อยปลิดทิ้งเลยครับ พระธาตุสวยงามมากเป็นสีทองตัดกะขอบฟ้าสีเข้ม ลมพัดเย็นสบาย วิวมองออกไปได้ไกลถึงอำเภอดอยเต่า เห็นแม่น้ำปิงที่ไหลไปลงเขื่อนภูมิพล พอดีช่วงที่ผมไปน้ำแห้งทะเลสาบดอยเต่าครับ กาได้ขึ้นมาข้างบนนี้ถือว่าคุ้มค่าการเดินทางมากครับสำหรับข้อมูลวัดพระบรมธาตุดอยเกิ้งมีปูชนียสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนพระนลสเบื้องซ้าย (กระดูกหน้าผากด้านซ้าย) ตามประวัติ พระนางจามเทวีได้ขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยเกิ้งครั้งที่จะมาครองเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) เมื่อ พ.ศ. 1200 และในปี 2463-2464 ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้ขึ้นมาบูรณะและสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์องค์เก่าไว้ และในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2464 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ…

Read More



เที่ยวซากทะเลสาบดอยเต่า

(แม้น้ำจะท่วมหลายจังหวัด แต่ก็มีหลายที่แล้งจัด) ทะเลสาบดอยเต่าเกิดจากการเสร้างเขื่อนภูมิพล(ยันฮี) เมื่อปี พ.ศ. 2507 สมัยนั้นได้เกิดเป็นทะเลสาบยาวมาถึง ดอยเต่า เมือฮอดเก่า แต่วันนี้ที่เมืองฮอดเก่าไม่มีน้ำอีกแล้ว เจดีย์ที่เคยถูกน้ำท่วมย่านนั้นได้เป็นไร่ข้าวโพดไร่ถั่วของชาวบ้านไปหมดแล้ว ส่วนทะเลสาบดอยเต่านั้นน้ำก็ลดลงทุกปี ตอนที่ผมเดินทางไปดอยเต่าเดือน กลางเดือนตุลาคม 2553 น้ำแห้งอย่างที่เห็นในรูปด้านบนนี้ครับแม่น้ำปิงที่เป็นล่องน้ำเดิมของดอยเต่าไหลยาวไปลงเขื่อนภูมิพลระยะทางจากดอยเต่าไปประมาณ 70 กิโลเมตร (วัดจาก google earth) ที่ดอยเต่าจะมีน้ำให้นักท่องเที่ยวล่องแพในช่วงเดือนตุลาคม จนถึงเดือนมีนาคม จากการสอบถามชาวแพล่องดอยเต่า ในปี 2552 มีน้ำแค่ 3 เดือน คือช่วง พ.ย. – ม.ค. และน้ำก็ลดลงๆในทุกปี จำนวนเดือนที่ล่องเรือได้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ยอดน้ำที่มาจากเขื่อนภูมิพลหากมาถึงเร็วก็มีน้ำที่นี่เร็ว วันนี้ยังไม่มีน้ำก็ต้องรอกันต่อไป กลางเดือนตุลาคมที่ผมมาเที่ยวดอยเต่าเป็นการเที่ยวซากทะเลสาบดอยเต่าโดยทันทีเพราะไม่มีน้ำที่ทะเลสาบอีกแล้ว เหลือเพียงล่องรอยของล่องน้ำปิงเล็กๆ ไหลช้าๆไปยังเหนือเขื่อนภูมิพล กลางทะเลสาบดอยเต่าที่เคยเป็นที่ล่องเรือชมวิว กลายเป็นไร่ข้าวโพด แพถูกจอดแห้งๆ เรือเกยตื้นเต็มไปหมด มองแล้วหดหู่ทำไมธรรมชาติช่างไม่ยุติธรรมเท่าเทียมกัน ในขณะที่ภาคอื่นๆน้ำท่วมตรงนี้กลับแห้งแล้งเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นผมจึงเดินทางขึ้นไปยังพระธาตุดอยเกิ้ง จุดชมวิวที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับจุดขึ้นเรือดอยเต่า ปกตินักท่องเที่ยวจะสามารถล่องเรือไปขึ้นอีกฝั่งแล้วเดินขึ้นเขาไปนมัสการลพระธาตุดอยเกิ้งได้ แต่ตอนนี้น้ำแห้งไม่มีเรือให้บริการ จึงต้องขับรถกลับไปยังอำเภอฮอดแล้ว ขับไปทางดอยเกิ้งอีกทางนึง เพื่อที่จะไปเก็บภาพมุมสูงของทะเลสาบดอยเต่าช่วงนี้ครับ ผมนอนพักที่ฮอด 1 คืน แล้วเช้าก็เดินทางไปพระธาตุดอยเกิ้ง ก็ได้วิวจากมุมสูงมาฝากเพื่อนๆกัน จากมุมสูงจะเห็นล่องน้ำปิงที่ถูกเปลี่ยนไป และเห็นความแห้งแล้วของทะเลสาบดอยเต่าชัดเจน…

Read More



อมก๋อยรีสอร์ท

หากใครได้มาอมก๋อยส่วนใหญ่จะได้พักที่อมก๋อยรีสอร์ทแห่งนี้ เพราะที่นี่บรรยากาศดีเยี่ยม ติดน้ำแม่ตื่น ในส่วนของบ้านพักสามารถนั่งระเบียงดูวิวริมน้ำสวยๆ ใช้อินเตอร์เน็ต WIFI ที่บริการกันฟรีๆ ที่สำคัญราคาก็ไม่แพง เริ่มต้นเพียง 250 บาทต่อคืนเท่านั้นสำหรับคืนนี้ Mr.Hotsia พักแบบถูกสุดห้องไม่มีแอร์ไม่มีพัดลมห้องน้ำรวมลืมบอกไปว่าที่อมก๋อยไม่ต้องใช้แอร์อากาศกลางคืนถึงขั้นหนาว ต้องใช้เสื้อกันหนาวกันเลยทีเดียว ที่รีสอร์ทยังมีบ้านเป็นหลังๆ ห้องน้ำในตัว (ดูรูปของห้องนอนของบ้านเป็นหลังๆด้านล่างนี้เลยครับ)ที่พักที่อมก๋อยข้อมูล ตุลาคม 2553 มีสองแห่งคือ “อมก๋อยรีสอร์ท” แห่งนี้ และอีกที่อยู่ก่อนถึงเมืองอมก๋อยเล็กน้อยชื่อว่า “ศรีทองวิลล์” ผมแนะนำพักที่อมก๋อยรีสอร์ทครับ สะดวกและสวย

Read More



ถนนสายต้นสนไปอมก๋อย

เคยไปทางระยอง ชลบุรี หรือไปเพชรบุรี สวนสนที่นั่นที่ขึ้นริมน้ำทะเลว่าเยอะ มาเจอเส้นทางจากแยกไปอมก๋อย สองข้างทางเป็นป่าสน สวนสนเต็มไปหมดเลยครับ และขึ้นเรียงกันสวยงามอีกตะกาก ทีแรดคิดว่ามีนิดเดียว แต่ผ่านไป 5 กิโลเมตรยังคงมีอยู่ เลยต้องย้อนกลับมาถ่ายคลิปให้ชมกัน สนที่นี่อยู่ริมถนนสองข้างทางไปเกือบตลาอดเส้นทาง 30 กว่ากิโลเมตรไปอำเภออมก๋อยครับสำหรับสนที่อมก๋อยมีทั้งปลูกเองและป่าสน สำหรับป่าสนนั้น พบในบริเวณที่มีความสูง 700 เมตรขึ้นไปจึงพบตามภูเขาสูงทั่วไป เช่นดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง ดอยผ้าห่มปก เป็นต้น ในเขตอำเภออมก๋อยจะมีต้นสนขึ้นปะปนอยู่กับป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ต้นสนที่พบในเชียงใหม่มี 2 ชนิด คือ สนสองใบ และสนสามใบตลอด 30 กิโลเมตรทางไปอมก๋อยดีตลอด วิวสวย อากาศดี เปิดกระจกชมวิวได้เลย สวนสนขึ้นสองฝั่ง บางช่วงเจอชาวเขาขอโดยสารรถด้วยก็ช่วยๆกันไป เที่ยวแบบนี้สรุกมากครับ mr.Hotsia

Read More



เที่ยววัดแสนทองอมก๋อย

หากมาเที่ยวอมก๋อยสิ่งที่ที่ควรไปสักการบูชาคือพระเจ้าแสงทอง ที่วัดแสงทอง ผมเองเมื่อไปถึงอมก๋อย ไม่รู้อะไรดลใจให้จอดรถตรงสะพานไม้ และไปถ่ายรูปจนไปพบกับวัดนี้โดยไม่รู้ข้อมูลมาก่อนว่าเป็นวัดประจำอำเภออมก๋อย ที่วัดนี้มีหลวงพ่อแสนท่องหรือพระเจ้าแสนท่องที่คนอมก๋อยนับถือกันอย่างมากครับ ผมถ่ายรูปสะพานไม้ก่อนเดินไปไหว้พระเจ้าแสนทองซึ่งเป็นทองอร่ามเหลืองสวยงามมาก ทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ประวัติของพระเจ้าแสนทองไม่ธรรมดาเลย ผมไปได้ข้อมูลมาจากเว็บของอำเภออมก๋อย เลยเอามาลงไว้ให้ด้านล่างนี้ครับ มาดูประวัติของพระเจ้าแสนทองกัน พระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ไม่ปรากฎว่ามีการสร้างขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอมก๋อยหลายท่าน อาทิ พ่อหนานคำปัน อดีตเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนทอง พ่อหนานศรีรัตน์ เล่าว่า เดิมพระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปที่มาจากทางภาคกลาง แถบเมืองละโว้ ลพบุรี พระนางจามเทวีผู้ครองนครลำพูนเป็นผู้นำขึ้นมาทางเหนือ ในสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก คนโบราณใช้วิธีการขนส่งสิ่งของโดยการใช้เรือ ซึ่งเป็นการคมนาคมทางน้ำที่สะดวกมาที่สุด และไม่มีเครื่องยนต์จะใช้กำลังคนเป็นผู้ค้ำถ่อเรือ ครั้งหนึ่งพระนางจามเทวีได้รับเชิญจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้มาครองหัวเมืองลำพูน ก่อนที่พระนางจะสเร็จมาถึงเมืองลำพูนนั้นได้มีเหล่าฤาษี 5 ตน ซึ่งต่างพากันดีใจ และได้ร่วมกันสร้างพระรอดมหาวันลำพูนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองพระบารมีของพระนางจามเทวี ฤาษ๊ 5 ตน ต่างพากันรวมใจตั้งจิตอธิษฐานและร่วมใจสร้างพระรอดขึ้นมาทั้ง 5 แบบพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล้ก พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ตื้น แล้วนำไปถวายให้กับพระนางจามเทวี เมื่อพระนางจามเทวีได้รับพระรอดมหาวันลำพูนแล้ว ได้แจกจ่ายให้กับไพร่พลทหราร ครั้งหนึ่งได้เกิดสงครามกับพวกพม่า ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองลำพูน พวกทหารของพระนางจามเทวีต่างก็มีพระรอดมหาวันเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี สามารถต่อสู้กับพวกพม่าได้จนมีชัยชนะจนถึงขั้นเป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันและแทงไม่เข้า พระรอดมหาวันมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมเล่นเครื่องรางของขลังให้ราคาพระรอดรุ่นฤาษี…

Read More



ชาวปะหล่อง บ้านนอแล ดอยอ่างขาง

เมื่อผมเดินทางมาเที่ยวดอยอ่างขางได้เห็นจากข้อมูลว่ามีชาวเผ่าปะหล่องที่บ้านนอแล เขตชายแดนไทยพม่า จึงไปเที่ยวทันที ในวันที่ผมไปนั้นเป็นวันออกพรรษพอดีเลย ชาวปะหล่องเขาจะมีพิธีการของเขา เนื่องจากชาวปะหล่องนับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดและมีพิธีการในวันนี้ เป็นโชคดีของผมจริงๆครับผมเดินตามเสียงดนตรีไปที่วัดนอแลวันนี้ผู้หญิงปะหล่องทั้งหมู่บ้านสวนเสื้อผ้าสีแดงสดในเครื่องแบบเต็มยศของชาวปะหล่อง ในวัดมีพระนั่งอยู่ และมีหญิงชาวปะหล่องขับร้องบทกวีอะไรสักอย่างที่ผมฟังไม่ออกเนื่องจากชาวปะหล่องเขาจะมีภาษาของเขาเองครับ ในศาลาวัดยังมีคนนั่งอยู่หลายคน ส่วนข้างนอกมีดนตรีของชาวประหล่องประกอบด้วยฆ้อง กลอง และฉาบ และมีการแสดงรำในแบบของเขา ซึ่งผมดูแล้วคล้ายๆพม่าครับในตอนสุดท้ายเขาจะมีพิธีการจุดโคมยี่เป็ง มีดนตรีและมีการร้องเพลงปะหล่องโบราณไปด้วย ช่วงนี้ชาวปะหล่องจะยกมือไหว้และร้องเพลงบรรยากาศขลังมากผมมองแล้วยังขนลุกเลยครับ ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อน ผมดูพิธีการของเขาอยู่จนจบพิธีตอนค่ำแล้วเดินกลับลงจากวัดพร้อมกับเขา ตลอดทางเขาจะร้องเพลงและตีฆ้อง กลอง ฉาบ ตลอดทาง เขายังชวนให้ผมอยู่ดูพิธีในวันถัดไปและชวนให้พักในหมู่บ้าน แต่ผมไม่ได้ตอบรับเพราะต้องไปถ่ายที่บรรยากาศดอยแม่สลองยามค่ำคืนต่อครับ สำหรับชาวปะหล่องที่บ้านนอแลนี้ผมอ่านข้อมูลที่ฐานนอแล ชาวปะหล่องได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านนอแลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ยังมีข้อมูลชาวปะหล่องเพิ่มเต้มจาก วัฒนธรรมภาคเหนือ (http://www.baanmaha.com/community/thread32873.html) ดังนี้ ปะหล่อง อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 หมู่บ้านคือ บ้านนอแล บ้านห้วยหมากเหลี่ยม บ้านสวนชา อำเภอฝาง และบ้านปางแดง อำเภอ เชียงดาวชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก “คุณลอย” หมายถึง คนดอย ส่วนชาว พม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า…

Read More



น้ำพุร้อนฝาง

น้ำพุร้อนฝางหรือน้ำพุร้อนแม่ฝางเดิม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (เปลี่ยนชื่อมาจากอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก) ที่นี่มีดอยผ้าห่มปกอันโด่งดัง วันนี้ผมมาเที่ยวที่อำเภอฝาง และจะไปดอยอ่างขางต่อจึงไม่มีโอกาสไปดอยผ้าห่มปก ได้แค่พาเที่ยวน้ำพุร้อนฝางด้านล่างและห้วยแม่ใจนิดหน่อยครับ ผมได้ไปเที่ยวน้ำพุร้อนทั้งที่สันกำแพง น้ำพุร้อนเทพนม น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน เมื่อมาน้ำพุร้อนฝางจึงเห็นเป็นของเด็กๆไปเลยครับ น้ำดูแห้งแล้งและไม่ค่อยร้อน ต้มไข่จากสมัยก่อนที่ใช้เวลาไม่นานตอนนี้ปาเข้าไปครึ่งชั่วโมง อาจเป็นเพราะปัญหาโลกร้อน โลกไม่ร้อน เออย่างไหนกันแน่ ทำให้น้ำพุร้อนแทบไม่มีน้ำเลยครับ ทางอุทยานเขาจึงทำน้ำพุร้อนจำลองให้มันพ่นออกมาในอากาศสูงหลายเมตร น้ำพุกึ่งปลอมแบบนี้จะพุ่งออกมาจากใต้ดินจริงๆในทุกๆ 30 นาที แต่ยังงัยก็ทดแทนน้ำพุร้อนธรรมชาติไม่ได้ แค่ดูสวยๆเฉยๆครับ จากน้ำพุร้อนเดินเข้าไปอีกนิดจะไปเจอห้วยแม่ใจ ห้วยนี้ไหลผ่านไปในเมืองฝางด้วยตอนผมเดินเล่นเมืองฝาง ก็เจอห้วยนี้ครับ ที่ห้วยแม่ใจเนี่ยววัยรุ่นฝางเขานิยมมาเล่นน้ำมันมากๆ เพราะน้ำแรงเย็นสบาย และไม่ลึกเหมาะสำหรับกระโดดเล่นเป็นที่สุด ข้อมูลทั่วไปของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จากเว็บอุทยานแห่งชาติครับ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก เปิดให้ขึ้นดอยผ้าห่มปกได้แล้ว โดยต้องขึ้นดอยก่อน 15.30 น. ต้องใช้รถ4WD ห้ามรถเก๋ง รถตู้ ขึ้นดอย เพราะยังเป็นทางลูกรัง สามารถติดต่อรถให้บริการ 1800 บาท/8 คน (ค้างคืน) ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวค่ะ สำหรับที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (น้ำพุร้อนฝาง) สามารถใช้บริการอาบ-อบน้ำแร่ และนวดแผนไทย เพื่อสุขภาพได้ทุกวัน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 น.-19.00 น. สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปกเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว…

Read More