ร่อนทองแม่น้ำโขง

ร่อนทองแม่น้ำโขง หากเดินทางผ่านเส้นทางแม่น้ำโขงในช่วงมีนาคม เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำโขงตื้น จะเห็นสองฝั่งแม่น้ำมีคนร่อนทองหาทองเป็นระยะ ด้วยความอยากรู้ว่าเขาทำกันอย่างไร ผมจึงเดินทางไปดูและลองร่อนทองที่แม่น้ำโขงดูสักครั้ง โดยจุดหมายปลายทองผมคือบ้านท่าส่วง เมืองหงสา แขวงไชยบุรี เป็นกลางป่าลึกของแม่น้ำโขง ครึ่งทางจากห้วยทรายไปหลวงพระบางทางเรือ ผมออกเดินทางเข้าประเทศลาวทางด่านห้วยโก๋นจังหวัดน่าน แล้วนั่งรถประจำทางไปเมืองหงสา พักที่เมืองหงสาหนึ่งคืนแล้วเดินทางไปบ้านท่าส่วง แล้วหาเรือล่องแม่น้ำโขงไปชมการร่อนทอง แม่น้ำโขงช่วงมีนาคมแห้ง แต่ไม่แห้งเท่าเมษา การร่อนทองยิ่งแม่น้ำโขงยิ่งแห้งก็จะได้ทองเยอะในแต่ละครั้ง จังหวะที่ผมมาถือว่าเกือบเป็นช่วงหาทองที่ดีที่สุด วิธีการร่อนทองในแม่น้ำโขงเริ่มต้นด้วยการไปขุดทองจากชั้นทรายที่ทับถมเป็นตะกอนของแม่น้ำโขง ทีแรกผมเข้าใจว่าไปช้อนเอาจากแม่น้ำโขง จริงๆไม่ใช่ครับ เขาจะไปขุดจากบนฝั่งที่เป็นตะกอน แล้วนำทรายและหินนั้นมาร่อนในแผ่นไม้ที่ก้นลึก ที่ทำขึ้นมาสำหรับร่อนทองโดยเฉพาะ กว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร การร่อนทองคือการทำให้สะเก็ดทองตกตะกอนนอนก้น แล้วเอาหิน ดินทราย ให้ไปกะไม่น้ำโขง โดยสะเก็ดทองจะปนอยู่กะดินสีดำๆ ด้านล่าง ในการร่อนแต่ละครั้งได้น้อยได้มากแล้วแต่ขุดทองจากแหล่งที่มีทองมากหรือน้อย หลังจากนั้นเขาจะเอามาเทใส่ชามรวมกันไว้ เมื่อร่อนทองจนเพียงพอในแต่ละมื้อแต่ละวัน ก็จะนำตะกั่ว ที่ชาวลาวเรียกว่า “บา” เอามาเทใส่ในชามที่ร่อนทองมาได้ แล้วกลิ้งไปมาให้ตัวบาจับทองรวมกันจากดินแยกจากดินจนหมด หลังจากนั้นก็เอาผ้ามาห่อบีบน้ำตะกั่วออกให้เหลือนเพียงทองคำที่เจือด้วยตะกั่ว ในขั้นตอนนี้ทองยังมีสีดำ เขาต้องเอาไปเผาโดยเอาทองใส่ในช้อนแล้วไปลนไฟจนตะกั๋วระเหยหมด ก็จะได้ทองคำบริสุทธิ์สีทอง ชาวลาวจะเรียกทองคำว่า “คำ” สำหรับการหาทองในแต่ละวันได้มากได้น้อยไม่กัน ผมถามดูเขาก็บอกว่าวันหนึ่งก็ได้ 1 ลี้บ้าง สองลี้บ้าง เป็นหน่วยสำหรับวัดทองของลาวเขา โดย 10 ลี้ =…

Read More