เที่ยววัดแสนทองอมก๋อย

หากมาเที่ยวอมก๋อยสิ่งที่ที่ควรไปสักการบูชาคือพระเจ้าแสงทอง ที่วัดแสงทอง ผมเองเมื่อไปถึงอมก๋อย ไม่รู้อะไรดลใจให้จอดรถตรงสะพานไม้ และไปถ่ายรูปจนไปพบกับวัดนี้โดยไม่รู้ข้อมูลมาก่อนว่าเป็นวัดประจำอำเภออมก๋อย ที่วัดนี้มีหลวงพ่อแสนท่องหรือพระเจ้าแสนท่องที่คนอมก๋อยนับถือกันอย่างมากครับ ผมถ่ายรูปสะพานไม้ก่อนเดินไปไหว้พระเจ้าแสนทองซึ่งเป็นทองอร่ามเหลืองสวยงามมาก ทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ประวัติของพระเจ้าแสนทองไม่ธรรมดาเลย ผมไปได้ข้อมูลมาจากเว็บของอำเภออมก๋อย เลยเอามาลงไว้ให้ด้านล่างนี้ครับ มาดูประวัติของพระเจ้าแสนทองกัน พระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ไม่ปรากฎว่ามีการสร้างขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอมก๋อยหลายท่าน อาทิ พ่อหนานคำปัน อดีตเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนทอง พ่อหนานศรีรัตน์ เล่าว่า เดิมพระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปที่มาจากทางภาคกลาง แถบเมืองละโว้ ลพบุรี พระนางจามเทวีผู้ครองนครลำพูนเป็นผู้นำขึ้นมาทางเหนือ ในสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก คนโบราณใช้วิธีการขนส่งสิ่งของโดยการใช้เรือ ซึ่งเป็นการคมนาคมทางน้ำที่สะดวกมาที่สุด และไม่มีเครื่องยนต์จะใช้กำลังคนเป็นผู้ค้ำถ่อเรือ ครั้งหนึ่งพระนางจามเทวีได้รับเชิญจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้มาครองหัวเมืองลำพูน ก่อนที่พระนางจะสเร็จมาถึงเมืองลำพูนนั้นได้มีเหล่าฤาษี 5 ตน ซึ่งต่างพากันดีใจ และได้ร่วมกันสร้างพระรอดมหาวันลำพูนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองพระบารมีของพระนางจามเทวี ฤาษ๊ 5 ตน ต่างพากันรวมใจตั้งจิตอธิษฐานและร่วมใจสร้างพระรอดขึ้นมาทั้ง 5 แบบพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล้ก พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์ตื้น แล้วนำไปถวายให้กับพระนางจามเทวี เมื่อพระนางจามเทวีได้รับพระรอดมหาวันลำพูนแล้ว ได้แจกจ่ายให้กับไพร่พลทหราร ครั้งหนึ่งได้เกิดสงครามกับพวกพม่า ซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองลำพูน พวกทหารของพระนางจามเทวีต่างก็มีพระรอดมหาวันเป็นเครื่องรางของขลัง ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี สามารถต่อสู้กับพวกพม่าได้จนมีชัยชนะจนถึงขั้นเป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันและแทงไม่เข้า พระรอดมหาวันมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมเล่นเครื่องรางของขลังให้ราคาพระรอดรุ่นฤาษี…

Read More