แบกเป้เที่ยวสิกขิม อินเดีย

รัฐสิกขิม(SIKKIM) คือรัฐหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน และทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเยล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากรก่อนศตวรรษที่ 18 ประชากรส่วนใหญ่ในสิกขิมส่วนใหญ่เป็นชาวเลปชา ซึ่งอพยพมาจากทิเบตในศตวรรษที่ 8 ชาวเผ่ารุ่นแรกๆจะเป็นชนเผ่านัมกยาลสืบเชื้อสายจากชาวมินยักในทิเบต ในปี พ.ศ. 1811 (ค.ศ. 1268) เจ้าชายแห่งนัมกยาล นามว่า คเย บุมซา ได้เสด็จไปช่วยสร้างวัดนิกายศักยะขึ้นในทิเบต และทรงผูกมิตรกับชาวเลปชา นามว่าเตกงเท็ก เมื่อเตกงเท็กเสียชีวิต ชาวเลปชาจึงได้ยกคุรุตาชี โอรสองค์ที่ 4 ขึ้นเป็นช็อกยัล (กษัตริย์)ในปี พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) จนถึงในปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ภูฏานได้รุกรานสิกขิม ช็อกยัลจึงได้เสด็จลี้ภัยไป และได้สร้างวัดขึ้นที่เปมารยังเซ และตาชีดิง ทรงคิดประดิษฐ์อักษรเลปชาขึ้น ก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์…

Read More